- ดร.ศราวุธ ภู่ไพจิตร์กุล
- 436 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การเลี้ยงสุกรหลุมแบบย้ายคอกและคุณภาพของปุ๋ยหมัก |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ |
เจ้าของผลงานร่วม | รำไพพรรณ กันยะมูล , บุญล้อม ชีวะอิสระกุล |
คำสำคัญ | สุกร;ความหนาแน่นของสัตว์;วัสดุรองพื้น;คอกปุ๋ยหมัก;ระบบการเลี้ยงสุกรหลุม |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | ทำการเลี้ยงสุกรบนวัสดุรองพื้นที่มีความสูง 1 เมตร (หมูหลุม) ในคอกขนาด 2x3 ม./หน่วย โดยใช้สุกรลูกผสม 3 สายเลือด (ดูรอค x ลาร์จไวท์-แลนด์เรซ) จำนวน 48 ตัว แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ ในระยะสุกรเล็ก (15-30 กก.) และรุ่น (31-60 กก.) ใช้ 6 และ 10 ตัว/คอก หรือเท่ากับใช้พื้นที่เลี้ยง 1.0 และ 0.6 ตร.ม./ตัว ส่วนในระยะขุน (61-90 กก.) เลี้ยง 3 และ 5 ตัว/คอก (6 ตร.ม./ตัว) โดยย้ายคอกไปเลี้ยงบนกองวัสดุรองพื้นชนิดใหม่ ผลปรากฏว่า ในระยะเล็ก-รุ่นและระยะขุน การเลี้ยง 6 ตัว/คอก แล้วลดลงเหลือ 3 ตัว/คอก มีสมรรถภาพการผลิตดีกว่า 10 และ 5 ตัว/คอก ทั้ง 2 ระยะ สำหรับวัสดุรองพื้นที่ใส่ในหลุม ในระยะสุกรเล็กรุ่นและขุน ได้ใช้ฟางข้าวและวัสดุเพาะเห็ดที่ผ่านการใช้แล้ว ปรากฎว่าเมื่อเสร็จสิ้นการทดลองการเลี้ยงแบบ 10 ตัว/คอก ในระยะแรกได้ปุ๋ยอินทรีย์มากกว่า 6 ตัว/คอก ส่วนในระยะขุน การเลี้ยง 5 ตัว/คอก ได้ปุ๋ยมากกว่าแบบ 3 ตัว/คอก เมื่อนำปุ๋ยสุกรหลุมไปวิเคราะห์ ปรากฏว่ามีธาตุ N, P และ K สูงกว่าค่ามาตรฐานของปุ๋ยหมัก (N = 2.31 vs. 1.0%, P2 O5 = 2.70 vs. 0.5% และ K2O = 2.02 vs.0.5%) เมื่อทดสอบกับการปลูกข้าวโพดฝักอ่อน พบว่า ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างน่าพอใจเมื่อใส่ปุ๋ยหมักนี้ในอัตรา 2 ตัน/ไร่ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=432.pdf&id=710&keeptrack=10 |
สาขาการวิจัย |
|
การเลี้ยงสุกรหลุมแบบย้ายคอกและคุณภาพของปุ๋ยหมัก is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.