ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง นวัตกรรมการผลิตปุ๋ยชีวภาพจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ด้วยกระบวนการหมักแบบไร้อากาศ
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษ Innovation of bio-fertilizer production from agricultural wastes using anaerobic digestion process
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ผศ.ดร.นิรมล จันทรชาติ
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ภาษาอังกฤษ Assist. Dr. Prof. Niramol Juntarchat
เจ้าของผลงานร่วม ยะโก๊ะ ขาเล็มดาเบะ
คำสำคัญ นวัตกรรมผลิตปุ๋ยชีวภาพ;ปุ๋ยชีวภาพ;เศษเหลือทิ้งจากการเกษตร;การย่อยสลายแบบไร้อากาศ
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยทักษิณ
ปีที่เผยแพร่ 2566
คำอธิบาย จากปัญหาต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตข่าและปัญหาเศษเหลือทิ้งจากการผลิตข่าของเกษตรในชุมชนบางกล่ำ โครงการวิจัยนี้ จึงมีเป้าหมายในการถ่ายทอดแนวทางในการนำเศษเหลือทิ้งในการผลิตข่าและเศษเหลือทิ้งจากของเสียอินทรีย์ในครัวเรือนมาผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพ ด้วยกระบวนการหมักแบบไร้อากาศ และการถ่ายทอดแนวทางการใช้ปุ๋ยชีวภาพทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อลดการใช้สารเคมีในการปลูกข่า โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ เกษตรกรปลูกข่าในตำบลบางกล่ำ ในขั้นตอนแรก เป็นการส่งเสริมแนวทางของการใช้นวัตกรรมระบบผลิตปุ๋ยชีวภาพจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี มีผู้เข้าร่วม 79 คน พบว่าร้อยละ 3 มีเข้าใจหลักการและสามารถลงมือปฏิบัติได้ ร้อยละ 60 มีความรู้ความเข้าใจระดับดีแต่ยังขาดทักษะปฏิบัติ และร้อยละ 34 มีความรู้ความเข้าใจระดับน้อยและยังไม่เข้าใจ ในการถ่ายทอดเทคนิควิธีการจัดทำและใช้งานนวัตกรรมระบบผลิตปุ๋ยชีวภาพ มีการคัดเลือกครัวเรือนนำร่องจำนวน 30 ครัวเรือน โดยคัดเลือกจากความรู้ความเข้าใจและความสนใจในการใช้งานนวัตกรรมผลิตปุ๋ยชีวภาพในครัวเรือน ผลการดำเนินงาน พบว่าทุกครัวเรือนมีการติดตั้งและใช้งานระบบ แต่มีเพียง 21 ครัวเรือนที่มีการใช้ปุ๋ยชีวภาพในการผลืตข่า เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน โดยใช้ปุ๋ยชีวภาพผสมกับน้ำ ในสัดส่วน 1 : 1 และใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี ในปริมาณที่ทดแทนปุ๋ยเคมีร้อยละ 50 การติดตามผลการลดลงของปริมาณเศษเหลือทิ้งจากการผลิตข่า การลดลงของการใช้ปุ๋ยเคมี การลดค่าใช้จ่ายและการเพิ่มผลผลิต ได้เก็บข้อมูลกลุ่มครัวเรือนที่มีการใช้ปุ๋ยชีวภาพทดแทนปุ๋ยเคมีสำหรับเร่งการเจริญเติบโตของข่า จำนวน 10 ครัวเรือนที่ปุ๋ยชีวภาพอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลามากกว่า 3 เดือน พบว่าสามารถลดเศษเหลือทิ้งจากการผลิตข่าลงได้ 3,102.5 กิโลกรัมต่อปี ลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง ร้อยละ 50 และลดค่าใช้จ่ายถึง 50,300 บาทต่อปี มีการวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหาร 6 ตัวอย่าง ที่มีความถี่ในการเติมเศษเหลือทิ้งอย่างต่อเนื่อง พบว่า มีองค์ประกอบของไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม ในน้ำหมักชีวภาพอยู่ระหว่าง 100 – 200 %(w/v) 100 – 168 mg/L 900 – 2,400 mg/L 37 – 84 mg/L และ 60 – 100 mg/L สุดท้าย การคืนข้อมูลชุมชนการคืนข้อมูลนี้ มีเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมการคืนข้อมูล ประมาณ 140 – 150 คน จากการทำแบบประเมินความสนใจการใช้งานนวัตกรรมผลิตปุ๋ยชีวภาพจากของเศษเหลือทิ้งจากการแปรรูปข่าด้วยกระบวนการหมักแบบไร้อากาศ พบว่ามากกว่าร้อยละ 50 ของผู้เข้าร่วมการคืนข้อมูล มีความสนใจ และจะไปศึกษาดูการใช้นวัตกรรมในครัวเรือนนำร่องใกล้บ้าน โดยมีเหตุผลหลัก คือ การลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยเคมีในแปลปลูกข่า
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ ด้านสังคม/ชุมชน
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เอกสารเพิ่มเติม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง