ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การถ่ายทอดองค์ความรู้: การเพิ่มผลผลิตไก่พื้นเมืองเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและ เป็นแหล่งรายได้เสริมของเกษตรกรสูงวัยในพื้นที่ตําบลบ้านจาน อําเภอพุทไธสง จังหวัด บุรีรัมย์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษ Knowledge transfer: Increasing the Productivity of Native Chickens as for Food Security and Extra Income Source of Elderly Farmers in Ban Jan Subdistrict, Phutthaisong District, Buriram Province according to Philosophy of Sufficiency Economy
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ดร.เอกสิทธิ์ สมคุณา
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ภาษาอังกฤษ Eakkasit Somkuna
เจ้าของผลงานร่วม รองศาสตราจารย์ ดร.นฤมล สมคุณา
คำสำคัญ การเพิ่มผลผลิต;ไก่พื้นเมือง;ความมั่นคงทางอาหาร;เกษตรกรสูงวัย;หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หน่วยงาน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์
ปีที่เผยแพร่ 2567
คำอธิบาย การดําเนินกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้การถ่ายทอดองค์ความรู้: การเพิ่มผลผลิต ไก่พื้นเมืองเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและเป็นแหล่งรายได้เสริมของเกษตรกรสูงวัยในพื้นที่ตําบลบ้านจาน อําเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาเกษตรกรสูงวัยในพื้นที่ตําบล บ้านจาน อําเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ให้มีความรู้และทักษะในการเพิ่มผลผลิตไก่พื้นเมืองให้เป็นแหล่ง อาหารและสร้างรายได้เสริมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมการเลี้ยงไก่พื้นเมืองให้เป็นแหล่ง อาหารและสร้างรายได้เสริมให้กับครัวเรือนของเกษตรกรสูงวัย และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนให้เป็นฐาน การเพิ่มผลผลิตไก่พื้นเมืองเพื่อสร้างรายได้เสริมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่ตําบลบ้านจาน อําเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ดําเนินกิจกรรมตามแผนงานที่กําหนดไว้ โดยศึกษาข้อมูลบริบทพื้นที่และ เกษตรกรเป้าหมาย อบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมการผลิตไก่พื้นเมืองเพื่อสร้างรายได้ ในพื้นที่เป้าหมาย 6 เรื่อง มีเกษตรกรที่เข้ากิจกรรมการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ จํานวน 150 คน เป็น เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองในพื้นที่ตําบลบ้านจาน ผู้นําชุมชนของแต่ละหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่องค์การบริหาร ส่วนตําบลบ้านจาน จํานวน 4 คน และเกษตรกรในพื้นที่บ้านหนองติ้ว ตําบลคูเมือง อําเภอคูเมือง จังหวัด บุรีรัมย์ จํานวน 30 คน ขยายผลด้วยการส่งเสริมการนําองค์ความรู้สู่การปฏิบัติ มีจํานวนเกษตรกรที่นําความรู้ ไปปฏิบัติได้ถูกต้อง จํานวน 30 ราย ได้ชุมชนต้นแบบจํานวน 1 ชุมชน คือ ชุมชนบ้านจาน ตําบลบ้านจาน ที่สามารถนําองค์ความรู้ที่ได้รับจากการดําเนินโครงการไปเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก่พื้นเมืองเพื่อเป็นอาหาร และสร้างรายได้ สามารถพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการวัดและประเมินผลการนํา ความรู้สู่การปฏิบัติในชุมชน ด้วยการใช้แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์ และการสังเกต พบว่า เกษตรกรสามารถ นําไปประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง จํานวนไก่พื้นเมืองเมื่อเสร็จสิ้นโครงการเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากเกษตรกร นําความรู้ไปปรับกระบวนการเลี้ยงไก่พื้นเมือง จากการปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ มาเป็นการเลี้ยงแบบกึ่งขังกึ่ง ปล่อยมีการปรับเปลี่ยนการเลี้ยงลูกไก่ไว้กับแม่ไก่ มาเป็นการแยกอนุบาลลูกไก่เพื่อเพิ่มอัตราการเลี้ยงรอด และ การเพาะเลี้ยงแหนแดงเป็นแหล่งอาหารเสริมโปรตีน ด้วยการใช้แหนแดงผสมในอาหาร เช่น รํา ปลายข้าว โดย การเลี้ยงจะใช้อาหารที่มีในท้องถิ่นเป็นหลัก และใช้พ่อ-แม่พันธุ์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการในการปรับ ฝูง ทําให้ไก่แข็งแรงขึ้น แต่จํานวนไก่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ลดลง เนื่องจากอากาศที่ร้อนจัด แม่ไก่ วางไข่น้อยลง ไข่ไม่มีเชื้อ ได้ชุมชนต้นแบบจํานวน 1 ชุมชน คือ ชุมชนบ้านจาน ตําบลบ้านจาน และมี การพัฒนาช่องทางการตลาดสมัยใหม่สําหรับการจําหน่ายไก่พื้นเมืองในตําบลบ้านจาน จํานวน 1 ช่องทาง สรุปได้ว่า การดําเนินกิจกรรมดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์และมีข้อเสนอแนะจากการดําเนินกิจกรรม ดังนี้ คือ ควรส่งเสริมการการผลิตไก่พื้นเมืองให้ได้มาตรฐาน เน้นการผลิตไก่พื้นเมืองพันธุ์แท้ สายพันธุ์ดี เช่น ไก่ เหลืองหางขาว ไก่ชี ไก่ประดู่หางดํา โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรือน และมุ่งเน้นการอาหารลดต้นทุนที่มาจกวัตถุดิบ อาหารสัตว์ในท้องถิ่นร่วมกับใช้สมุนไพรทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อสร้างความปลอดภัยกับผลผลิตและ ผู้บริโภค ควรส่งเสริมการรวมกลุ่มการผลิตไก่พื้นเมืองของผู้สูงวัยด้วยการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน เพื่อพัฒนาอาชีพการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ตั้งแต่การเพาะลูกไก่ การขุน และการจําหน่ายทั้งช่องทางปกติ คือ จําหน่ายเป็นไก่มีชีวิตในตลาดชุมชน และจําหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ผ่านเพจเฟสบุคที่ได้พัฒนาขึ้นมาแล้ว เพิ่มการเฝ้าระวังโรคระบาดในพื้นที่ และการป้องกันโรค และการสุขาภิบาลที่ดี เน้นการทําวัคซีนตามโปรแกรม ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตจากไก่พื้นเมืองเป็นอาหารประจําท้องถิ่น ควรมีการจัดการมูลไก่ และเพิ่ม การเพาะเลี้ยงแหนแดง ให้มีมูลค่าเพิ่ม และดําเนินการในเชิงพาณิชย์ เช่น การทําปุ๋ยมูลไก่ การเพาะเลี้ยงแหน แดงจําหน่ายในรูปสด แห้ง หรือเป็นผง ควรส่งเสริมการผลิตแบบครบวงจร ตลอดจนการขยายตลาดภายนอกชุมชนให้มากขึ้น และส่งเสริมการใช้การตลาดแบบออนไลน์มากขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ จากไก่พื้นเมืองได้สะดวกและรวดเร็ว ในการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ ควรให้ความรู้ในเรื่องมาตรฐานการเลี้ยง ไก่พื้นเมืองปลอดภัย และมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ปลอดภัย ในการขยายผลองค์ความรู้ และการถ่ายทอดบทเรียน การผลิตไก่พื้นเมือง ไปยังพื้นที่อื่นๆ ในจังหวัดบุรีรัมย์ ควรนําเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการถ่ายทอดองค์ ความรู้ทั้ง 6 ครั้ง ไปเป็นวิทยากรเสริมเพื่อให้เกษตรกรในกลุ่มพื้นที่ขยายผลรับความรู้โดยตรงจากเกษตรกร ด้วยกัน และเป็นการสร้างเครือข่ายให้กว้างขวางขึ้น ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ เช่น องค์การบริหารส่วน ตําบล ปศุสัตว์อําเภอ ปศุสัตัตว์ตําบล พัฒนาชุมชน ควรเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ต่อไป
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ ด้านสังคม/ชุมชน
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การถ่ายทอดองค์ความรู้: การเพิ่มผลผลิตไก่พื้นเมืองเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและ เป็นแหล่งรายได้เสริมของเกษตรกรสูงวัยในพื้นที่ตําบลบ้านจาน อําเภอพุทไธสง จังหวัด บุรีรัมย์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เอกสารเพิ่มเติม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง