ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การเพาะพันธุ์ปลาหมอไทย
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง บุญถม ทับสมบัติ
คำสำคัญ การขยายพันธุ์ปลา;บ่อเลี้ยงปลา;ปลาน้ำจืด;การเพาะพันธุ์ปลาหมอ;ปลาหมอ
หน่วยงาน สาขาวิชาเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์
ปีที่เผยแพร่ 2559
คำอธิบาย ขั้นตอนการเพาะพันธุ์ปลาหมอในบ่อดินดังนี้ 1.เตรียมบ่อซีเมนต์ ล้างทำความสะอาดและตากให้แห้ง แขวนกระชังตาถี่ขนาดเล็กกว่าบ่อเช่น บ่อขนาด 2*4 ม. จะใช้กระชังขนาด 1.5*3 ม.แขวนในบ่อซีเมนต์และวางอิฐแดงถ่วงที่ก้นกระชังเป็นระยะๆ และใช้กรงเหล็กบุตะแกรงพลาสติก “กรงผสมพันธุ์” เพื่อปล่อยพ่อแม่พันธุ์ที่ฉีดฮอร์โมนแล้วให้ผสมพันธุ์และวางไข่ 2.เตรียมฮอร์โมน อุปกรณ์คือ พ่อแม่พันธุ์อายุ 7 เดือนขึ้นไป ฮอร์โมน เข็ม motilium ตาชั่ง การเตรียมฮอร์โมน มีสัดส่วนคือ ปลา 1 กก.ใช้ motilium 1 เม็ด บดให้ละเอียด เติมสารละลายฮอร์โมนซุปปรีแฟค 20 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กก. ดังนั้นใช้ 0.2 ซีซี. เติมน้ำกลั่น 0.8 ซีซี. คนให้เข้ากัน การฉีดฮอร์โมน เพศเมียใช้ฮอร์โมน 0.1 ซีซี. เพศผู้ 0.05 ซีซี ฉีดบริเวณช่องเปิดปลายโคนครีบหลัง ปิดปากบ่อป้องกันปลากระโดดและเปิดน้ำให้ไหลเหมือนฝนตกเป็นการกระตุ้นปลา วันต่อมาตรวจการวางไข่ ไข่จะลอยแพ สีเหลืองใสที่ผิวน้ำ มองเห็นชัดเจน จากนั้นปล่อยพ่อแม่พันธุ์แยกกันในบ่อที่เตรียมไว้
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.youtube.com/watch?v=jpDLrgNzvDA
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การเพาะพันธุ์ปลาหมอไทย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.

วิดีโอ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง