ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลป์ดอกไม้แบบไทย:กรณีศึกษาประเพณีงานแต่งงาน
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง นางปิยะธิดา สีหะวัฒนกุล
เจ้าของผลงานร่วม นางสาวสุกํญญา จันทกุล , ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดรุณี โอวจริยาพิทักษ์ , ผู้ช่วยศาสตราจารย์มานอตย์ แก้ววงษ์ศิริ , นายอารยะ ไทยเที่ยง , นายอนุสรณ์ ใจทน
คำสำคัญ สื่อ;ชุดพาน;พานขันหมาก
หน่วยงาน สาขาวิชาการบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
ปีที่เผยแพร่ 2559
คำอธิบาย ประเพณีการยกขันหมากสู่ขอนั้นเป็นพิธีมงคลจัดขึ้นเพื่อการคาราวะผู้ปกครองฝ่ายเจ้าสาวบอกกล่าวขออนุญาตที่เจ้าบ่าวจะสู่ขอเจ้าสาวไปเป็นภรรยาประวัติที่มาของพานขันหมากนั้นมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยที่สมเด็จพระร่วงเจ้าได้ทรงบัญญัติว่าถ้าชาวไทยทำการรับแขกเป็นสนามใหญ่มีการอาวาห์มงคลหรือวิวาห์มงคลแล้วให้ร้อยกรองดอกไม้เป็นรูปพานขันหมากและให้เรียกว่า”พานขันหมาก”ประกอบด้วยพานขันหมาก พานเชิญ ขันหมาก พานสินสอดทองหมั้น พานแหวน พานขนมผลไม้และพานต้นกล้วยต้นอ้อยจำนวนพานขั้นหมากที่ใช้สำหรับงานแต่งงานในปัจจุบันจะผันแปรตามรูปการจัดขบวน ลักษณ์เด่นของพานขันหมากจะอยู่ที่ความละเอียด ปราณีต มีการวางลวดลายที่วิจิตรงดงามมีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์มีการประดิษฐ์ประดอยดอกไม้ซึ่งต้องใช้ความละเอียด การจัดขันหมากจะใส่หมากพลูเป็นจำนวนคู่อย่างคู่4หรือคู่8 นำมาจัดเรียงให้สวยงามสาเหตุที่ต้องมีการใส่หมากพลูลงไปในพานขันหมากเพราะในสมัยก่อนนิยมกินหมากจึงมีการใช้หมากพลูเป็นเครื่องต้อนรับเพื่อแสดงไมตรีเวลาแขกมาเยือนก็ยกเชี่ยนหมากมารับรองซึ่งหมายถึงยินดีต้อนรับอย่างเป็นกันเองด้วยไมตรีจิตด้วยเหตุนี้เมื่อจะไปสู่ขอหรือแต่งงานกับลูกสาวใครซึ่งเป็นคนต่างบ้านต่างถิ่นแม้จะมีของอย่างอื่นแต่ก็ต้องมีหมากพลูไปคำนับเพื่อแสดงไมตรีจิตด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.youtube.com/watch?v=kNEx7n48p0c
สาขาการวิจัย -
Creative Commons License


การอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลป์ดอกไม้แบบไทย:กรณีศึกษาประเพณีงานแต่งงาน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


เรื่องที่เกี่ยวข้อง