ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การโคลนยีนและศึกษาลักษณะของรีคอมบิแนนท์ไลติกพอลิแซ็กคาไรด์โมโนออกซิจิเนสจาก Paenibacillus curdlanolyticus B6 และการนำไปใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายเซลลูโลสแบบผลึก |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | นางสาวภาคินี เทียนเฮง |
เจ้าของผลงานร่วม | รศ. ดร.กนก รัตนะกนกชัย , ผศ. ดร.ภัทรา ผาสอน , ผศ. ดร.จักรกฤษณ์ เตชะอภัยคุณ , ดร.รัตติยา แววนุกูล |
คำสำคัญ | เซลลูโลส;ไลติกพอลิแซ็กคาไรด์โมโนออกซิจิเนส;เอนไซม์ในกลุ่มเซลลูโลไลติก |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้ธนบุรี |
ปีที่เผยแพร่ | 2559 |
คำอธิบาย | ไลติกพอลิแซ็กคาไรด์โมโนออกซิจิเนส (LPMOs) ทำงานร่วมกับเอนไซม์ในกลุ่มเซลลูโลไลติกเพื่อย่อยสลายเซลลูโลสที่มีโครงสร้างซับซ้อน ในงานวิจัยนี้ได้ทำการโคลนยีน PcLPMOB และศึกษาคุณลักษณะของรีคอมบิแนนท์ PcLPMOB พบว่า PcLPMOB สามารถทำลายพันธะไฮโดรเจนและบีต้า 1,4-ไกลโคไซด์ในเซลลูโลสได้โดยให้ผลิตภัณฑ์เป็นน้ำตาลรีดิวซ์และน้ำตาลกรด และสามารถทำงานร่วมกับ PcCel9B ซึ่งเป็นไฮบริดเอนไซม์ระหว่างเอนโดกลูคาเนสและเอกโซกลูคาเนสจาก P. curdlanolyticus B6 ที่อัตราส่วน PcLPMOB: PcCel9B เท่ากับ 75:25 ได้ดี โดยช่วยให้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ที่วัดได้จากการย่อยสลายอะไวเซลเพิ่มขึ้นเป็น 3.74 แสดงให้เห็นว่า PcLPMOB สามารถช่วยเสริมการทำงานของเอนไซม์เซลลูโลไลติกต่อการย่อยเซลลูโลสให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น |
สาขาการวิจัย |
|
การโคลนยีนและศึกษาลักษณะของรีคอมบิแนนท์ไลติกพอลิแซ็กคาไรด์โมโนออกซิจิเนสจาก Paenibacillus curdlanolyticus B6 และการนำไปใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายเซลลูโลสแบบผลึก is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Thailand License.