ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การผลิตพอลิเมอร์ดูดซึมได้คุณภาพสูงสำหรับเครื่องมือแพทย์ |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วินิตา บุณโยดม |
เจ้าของผลงานร่วม |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พุฒินันท์ มีเผ่าพันธ์ ,
ดร. โรเบิร์ต มอลลอย ,
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณารัฐ ณ ลำปาง ,
ดร. รุ้งลาวัลย์ สมสุนันท์ ,
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เกียรติคุณ มะโนเครื่อง ,
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภัทร์นฤน วรจิตติพล ,
นส. วธุกา บุญเจริญ |
คำสำคัญ |
การผลิต;พอลิเมอร์ที่ดูดซึมได้;พอลิแลคไทด์ พอลิ(แอล-แลคไทด์-โค-แคโพรแลคโทน);พอลิเมอร์เฉพาะอย่าง;เกรดทางการแพทย์;เครื่องมือแพทย์;ห้องปฏิบัติการ;ISO 13485 |
หน่วยงาน |
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เลขที่ 239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 |
ปีที่เผยแพร่ |
2559 |
คำอธิบาย |
ปัจจุบันประเทศไทยยังต้องสั่งซื้อเม็ดพอลิเมอร์เกรดการแพทย์มาขึ้นรูปเป็นวัสดุทางการแพทย์หรือนำเข้าวัสดุทางการแพทย์จากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตพอลิเมอร์ดูดซึมได้คุณภาพสูงสำหรับเครื่องมือแพทย์ โดยทำการผลิตเม็ดพอลิเมอร์ย่อยสลายได้ทางชีวภาพเกรดทางการแพทย์ คือ พอลิ(แอล-แลคไทด์) และ พอลิ(เอปไซลอน-คาร์โพรแลคโทน) ตามมาตรฐาน ASTM F1925-09 (Standard Specification for Semi-Crystalline Poly(lactide) Polymer and Copolymer Resins for Surgical Implants) ผลการดำเนินงานในปีที่ 1 พอลิเมอร์ทั้งสองชนิดผ่านการทดสอบในห้องปฏิบัติการในประเทศไทยและเตรียมรับการตรวจประเมินห้องปฏิบัติการมาตรฐาน ISO 13485 (ระบบการบริหารงานด้านคุณภาพสำหรับเครื่องมือทางการแพทย์) |
สาขาการวิจัย |
|