ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
ผลกระทบจากความหลากหลายของยีน SDF-1 3 |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
นายฐิติรัตน์ จิรัญญนันท์ |
เจ้าของผลงานร่วม |
อ.ดร.จรีภรณ์ เอกวัฒน์ชัย ,
อ.ดร.ไข่มุกด์ ช่างศรี ,
ผศ.ดร.กรอนงค์ ยืนยงชัยวัฒน์ |
คำสำคัญ |
Stromal cell-derived factor-1 (SDF-1), Liver disease, HIV-HBV coinfection, HIV-HCV coinfection, Aspartate aminotransferase (AST), Alanine aminotransferase (ALT), AST:ALT ratio, Transaminitis, Aspartate aminotransferase (AST)-to-platelet (APRI), Fibrosis score (FIB-4) |
หน่วยงาน |
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ |
2559 |
คำอธิบาย |
ยีน SDF-1 3’A มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินโรคติดเชื้อเอชไอวีและอาจมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินโรคตับ การวิเคราะห์ด้วยสถิติ Uni-และ Multi-variate logistic regression แสดงว่า การมีจีโนไทป์ AA/AG เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดค่าเอนไซม์ตับ และการมีค่า APRI สูงกว่าปกติ ร่วมกับการเป็นเพศชาย ระดับค่า CD4 cell count และการติดเชื้อร่วมกับไวรัสตับอักเสบซี จากการวิเคราะห์ผลกระทบของการมี จีโนไทป์ AA/AG ต่อความผิดปกติที่ตับในกลุ่มผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับยาต้านไวรัสพบว่ากลุ่มผู้มีจีโนไทป์ AA/AG มีระดับค่าตัวบ่งชี้ความผิดปกติที่ตับได้แก่ค่า AST ค่า APRI และค่า FIB-4 สูงกว่าในกลุ่มผู้มีจีโนไทป์ GG อย่างมีนัยสำคัญ โดยไม่พบความแตกต่างนี้ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านไวรัส ผลการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า การมียีน SDF-1 3’A ไม่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี แต่มีความสัมพันธ์และเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความผิดปกติที่ตับในกลุ่มผู้ป่วยเอชไอวีชาวไทย โดยเฉพาะในกลุ่มที่ยังไม่ได้รับยาต้านไวรัส |
สาขาการวิจัย |
|