ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน (ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยรูปแบบการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วม ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดกำแพงเพชร |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ บัวเทศ |
เจ้าของผลงานร่วม |
นายวสันต์ เพชรพิมูล ,
ดร.สมิตา อรรควงษ์ ,
ดร.นาริน คชฤทธิ์ |
คำสำคัญ |
เทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทร;หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
หน่วยงาน |
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร |
ปีที่เผยแพร่ |
2559 |
คำอธิบาย |
การดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเรื่อง “การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน (ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยรูปแบบการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วม ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดกำแพงเพชร” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยรูปแบบการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วม ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการต่อยอดและการพึ่งพาตนเองด้านเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้กับกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และ 3) เพื่อการติดตามและประเมินผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยรูปแบบการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วม ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดกำแพงเพชร มีวิธีการดำเนินการโดยการลงพื้นที่เพื่อจัดเวทีประชาคมโดยการสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์ การอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมกิจกรรม และการสอบถามความคิดเห็นกลุ่มเป้าหมาย ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ บุคลากร/เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำชุมชน ประชาชนในชุมชนท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 11 อำเภอ อำเภอละ 1 แห่ง กำหนดจำนวนของกลุ่มตัวอย่างอำเภอละ 30 คน รวมทั้งสิ้น 330 คน โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ วิธีการลงภาคสนามเพื่อสังเกตการณ์ วิธีการสัมภาษณ์ การอบรมเชิงปฏิบัติการ และแบบสอบถามความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการดำเนินการมีดังนี้
1. สภาพ และปัญหาการใช้เทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน ของประชาชนในเขตจังหวัดกำแพงเพชร พบว่า ส่วนใหญ่ยังไม่มีการใช้พลังงานทดแทนอย่างจริงจัง และขาดความรู้ความเข้าใจในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน และมีความต้องการใช้ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับการทำการเกษตรเป็นหลัก รวมถึงใช้กับกระบวนการผลิตของสินค้า OTOP ของวิสาหกิจชุมชน และต้องการให้มีศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทนของชุมชน
2. การจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับกลุ่มเป้าหมาย พบว่า กลุ่มเป้าหมายผู้เข้ารับการอบรมมีคะแนนสอบหลังการอบรม สูงกว่า ก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และยังพบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความสนใจที่จะนำระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ไปประยุกต์ใช้กับการทำการเกษตร โดยใช้สูบน้ำในนาข้าว มันสำปะหลัง อ้อย และการปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นหลัก
3. การศึกษาผลกระทบและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังจากการนำเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน ไปขยายผลสู่การปฏิบัติ เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =4.33) โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมมากที่สุด รองลงมา คือ ความพึงพอใจในด้านการใช้งานของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์หลังการเข้าร่วมกิจกรรม ผลกระทบและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังจากการนำเทคโนโลยีระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ไปขยายผลสู่การปฏิบัติ และความรู้ ความเข้าใจทั้งก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม ตามลำดับ
4. การจัดแหล่งเรียนรู้ในด้านพลังงานทดแทน ให้กับกลุ่มเป้าหมายในเขตพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ทั้ง 11 อำเภอ พบว่า เกิดผลการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่ชุมชน และได้แหล่งเรียนรู้ในด้านพลังงานทดแทน ที่สามารถขยายผลสู่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
สาขาการวิจัย |
-
|