ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | วิธีการควบคุมคุณภาพสมุนไพรเพชรสังฆาตในการต้านภาวะกระดูกพรุน |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ธนิกา ปฐมวิชัยวัฒน์ |
คำสำคัญ | เพชรสังฆาต;คุณภาพสมุนไพร;กระดูกพรุน |
หน่วยงาน | คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ปีที่เผยแพร่ | 2559 |
คำอธิบาย | สมุนไพรเพชรสังฆาต มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cissus quadrangularis Linn. อยู่ในวงศ์ Vitaceae มีชื่อเรียกต่างๆ เช่น ขั่นข้อ (ราชบุรี)สันชะควด (กรุงเทพฯ) สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์) มีสรรพคุณ แก้กระดูกแตก หัก ซ้น ขับลมในกระเพาะและรักษาโรคริดสีดวงทวาร ทำให้มีงานวิจัยองค์ความรู้ด้านสมุนไพรของไทยแบบโบราณและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันได้ จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าเพชรสังฆาตช่วยเสริมสร้างมวลกระดูก จากการที่มีฤทธิ์กระตุ้นเซลล์สร้างกระดูกให้เพิ่มขึ้น และเพิ่มการสร้างคอลลาเจนในเซลล์สร้างกระดูก และยังป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกในหนูทดลอง การใช้เพชรสังฆาตในสตรีวัยทองซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะ เกิดภาวะกระดูกพรุน พบว่าช่วยเพิ่มมวลกระดูกและรักษากระดูกแตก ได้จากการควบคุมคุณภาพสมุนไพรเพชรสังฆาต เนื่องจากเพชรสังฆาตมีวิตามินซีสูงมากและมีวิตามินเอ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ที่สำคัญมีองค์ประกอบของแคลเซียมสูงมาก |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.youtube.com/watch?v=dYjbx6-i4ek http://health.kapook.com/view128684.html |
สาขาการวิจัย |
|
วิธีการควบคุมคุณภาพสมุนไพรเพชรสังฆาตในการต้านภาวะกระดูกพรุน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.