ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การเลี้ยงหมูหลุมดินชีวภาพ “จากงานวิจัยสู่ชุมชนเกษตรพอเพียง” |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
นายภูวดล ประพฤติดี |
เจ้าของผลงานร่วม |
นายโอภาส สืบสาย ,
นางสาวนาราอร สว่างวงศ์ |
คำสำคัญ |
การเลี้ยงหมูหลุมดินชีวภาพ;เกษตรทฤษฎีใหม่;เศรษฐกิจพอเพียง;องค์ความรู้ |
หน่วยงาน |
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์ |
ปีที่เผยแพร่ |
2560 |
คำอธิบาย |
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ประเมินผลการเรียนรู้ โครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริของในหลวงด้านเศรษฐกิจพอเพียง ที่ประยุกต์ใช้กับการเลี้ยงสัตว์มาถ่ายทอดผ่านการเผยแพร่ผลงานวิจัยในตำแหน่งนักวิชาการเกษตร ให้แก่สมาชิกในชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย โดยการนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านโครงการ การเลี้ยงหมูหลุมดินชีวภาพ “จากงานวิจัยสู่ชุมชนเกษตรพอเพียง” โดยใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่จัดฝึกอบรมแบบ CIPP Model มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๑๐๐ คน ประกอบด้วย กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้เลี้ยงสุกร ตำบลสลุย กลุ่มครู นักเรียน และผู้ปกครองโรงเรียนวัดน้อมถวาย และกลุ่มเกษตรกรตำบลวังใหม่ จังหวัดชุมพร ผลการวิจัยพบว่า ๑) ผู้ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเชิงวิชาการที่เพิ่มขึ้น จากการเข้ารับการฝึกอบรม ร้อยละ ๙๖.๒๕ และ ๒) โครงการสามารถส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกรได้ ไม่ซับซ้อนและสามารถนำความรู้ที่ไปใช้ได้จริง ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง ต้องการให้มีการจัดโครงการนี้ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง และระดับความพึงพอใจเฉลี่ยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมาก พอใจ เท่ากับ ๔.๔๔ อุปสรรคในการดำเนินกิจกรรมโดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมส่วนใหญ่ พบว่า หากเป็นนักเรียน มักจะไม่ได้รับความสนใจจากผู้ปกครองมากนัก ส่วนเกษตรกร ผู้รับจ้าง และแม่บ้าน มักประสบปัญหาด้านงบประมาณที่ต้องใช้ลงทุนในการเริ่มเลี้ยงหมูหลุม การขาดความรู้พื้นฐานในการผลิตสุกร กลัวว่าหมูจะป่วยแล้วตายและขาดทุน สมาชิกเบื่อการอบรมและยังรวมตัวกันในกลุ่มไม่ได้เท่าที่ควร ซึ่งส่วนมากจะเน้นด้านปากท้อง และกำลังทรัพย์ที่ตนมีน้อย ดังนั้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ในลักษณะนี้ จึงควรแบ่งออกเป็นหลักสูตรย่อยตามความต้องการของชุมชน โดยไม่ยึดติดว่าชุมชนนั้นๆ จะต้องกลับไปเลี้ยงหมูหลุมทันที เนื่องจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีล้วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของกลุ่มเป้าหมาย |
สาขาการวิจัย |
|