ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตถั่วเหลืองอินทรีย์ไอโซฟลาโวน (Isoflavones organic soy yogurt) เป็นผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ (Functional Food) เพื่อการตลาดและจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มพื้นที่การปลูกถั่วเหลืองหลังนาข้าวเพื่อเพิ่มความอุดมสมบ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ผู้ช่วยศาสตราจารย์วสันต์ ศิริพูล |
คำสำคัญ | โยเกิร์ตถั่วเหลืองอินทรีย์;ไอโซฟลาโวน;โยเกิร์ต;ถั่วเหลืองอินทรีย์ |
หน่วยงาน | คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
ปีที่เผยแพร่ | 2560 |
คำอธิบาย | โครงการวิจัยนี้จัดแบ่งการดำเนินงานออกเป็น ๓ ส่วนหลักๆ ในระยะเริ่มต้นโครงการนั่นคือ ส่วนที่ ๑ การพัฒนาผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตถั่วเหลืองอินทรีย์ในระดับห้องปฏิบัติการ โดยคณะวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่มีผลการวิจัยเกี่ยวกับถั่วเหลืองและการพัฒนาผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตอยู่แล้ว ทำการศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตถั่วเหลืองอินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการผลิตสารไอโซฟลาโวน ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และจัดการเป็นความรู้เกี่ยวกับความต้องการผลผลิตถั่วเหลืองอินทรีย์ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวเพื่อเผยแพร่สู่เกษตรกรผู้ผลิตถั่วเหลืองอินทรีย์ ส่วนที่ ๒ การพัฒนากลุ่มและเครือข่ายผู้ผลิตถั่วเหลืองอินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการเป็นวัตถุดิบสำคัญของผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตถั่วเหลืองชนิดที่มีสารไอโซฟลาโวน โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองอินทรีย์สู่เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย และให้กลุ่มและเครือข่ายผู้ผลิตถั่วเหลืองอินทรีย์ดังกล่าว จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองอินทรีย์เพื่อใช้ในการผลิตโยเกิร์ตถั่วเหลืองชนิดมีไอโซฟลาโวนขึ้นรองรับการขยายผลผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตสู่ระดับอุตสาหกรรม ส่วนที่ ๓ การพัฒนาแผนธุรกิจโยเกิร์ตถั่วเหลืองอินทรีย์ที่มีไอโซฟลาโวนร่วมกันระหว่างเครือข่ายวิจัยภูมิภาค: ภาคเหนือ สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ เครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตถั่วเหลืองอินทรีย์เพื่อเสนอต่อผู้ประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหารที่สนใจ โครงการวิจัยนี้ดำเนินการในพื้นที่เกษตรกรรม ๑๗ จังหวัดภาคเหนือ โดยมุ่งเน้นไปยังพื้นที่ที่มีกลุ่มและเครือข่ายเกษตรกรที่สนับสนุนโดยเครือข่ายวิจัยภูมิภาค: ภาคเหนือและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการเริ่มต้นที่มีระยะเวลาดำเนินการ ๖ เดือนก่อน จากนั้นจึงขยายผลต่อไปยังผู้สนใจอื่นๆ |
สาขาการวิจัย | - |