ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การจัดการความรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยด้านเกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
ศาสตราจารย์ ดร.หนึ่ง เตียอารุง |
เจ้าของผลงานร่วม |
ศาสตราจารย์ (เกียรติคุณ) ดร.นันทกร บุญเกิด ,
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรรณลดา ติตตะบุตร ,
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดชล วุ้นประเสริฐ ,
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐธิญา เบือนสันเทียะ ,
นางสาวอาภากร หล่องทองหลาง ,
นางสาวกุลฒี รัตนรักษ์ |
คำสำคัญ |
เกษตรอินทรีย์ |
หน่วยงาน |
สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี |
ปีที่เผยแพร่ |
2560 |
คำอธิบาย |
จากแนวทางพระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ ๙ สวนเกษตรเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา บรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นสถานที่ทดลองปฏิบัติตามแนวทางพระราชดำริ พร้อมทั้งเป็นแหล่งทำงานวิจัยทางด้านเกษตรอินทรีย์ อย่างไรก็ตามในระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมายังไม่เคยมีการรวบรวม จัดการองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่ได้จากงานวิจัยภายในพื้นที่ ดังนั้นโครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการองค์ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์แล้วสังเคราะห์ให้อยู่ในรูปแบบเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ ที่สามารถใช้ในการเผยแพร่ให้แก่ผู้สนใจ ทั้งนี้ได้ดำเนินการโดยการจัดประชุมนักวิจัย และจากการพูดคุยกับเกษตรกรที่เคยนำทฤษฎีใหม่นี้ไปปฏิบัติจริง เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ และวิธีการแก้ปัญหาที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ตามแนวพระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่ แล้วทำการสังเคราะห์เทคโนโลยีที่สามารถนำไปปฏิบัติจริงในด้านต่าง ๆ จากนั้นดำเนินการผลิตสื่อเพื่อนำไปใช้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยการจัดอบรม การเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ และการจัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา พร้อมกับการสำรวจข้อมูลต้นทุนการผลิต รายได้ของเกษตรกร หรือผู้ประกอบการที่ทดลองนำองค์ความรู้ไปปฏิบัติ ซึ่งผลการปฏิบัติงานสามารถสังเคราะห์เทคโนโลยีที่เหมาะสม ได้จำนวนทั้งสิ้น ๕ เทคโนโลยี คือ ๑.วิธีการและเทคโนโลยีเพื่อทดแทนการใช้สารเคมีในระบบการผลิตพืชอินทรีย์ในประเทศไทยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๒.ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ๓.การใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในระบบการปลูกข้าวต้นเดี่ยว ๔.แหนแดง ๕.แก๊สชีวภาพ โดยนำเทคโนโลยีที่ ๑ และ ๒ จัดทำเป็นคู่มือ และเผยแพร่เทคโนโลยีอื่น ๆ ในสื่อออนไลน์ พร้อมจัดการอบรมจำนวน 8 ครั้ง การเสวนาระหว่างนักวิจัยและเกษตรกร 1 ครั้ง และมีผู้สนใจเข้าร่วมศึกษาดูงานอีกจำนวนหนึ่ง ทั้งนี้การสำรวจข้อมูลของผู้นำเคยนาเอาเทคโนโลยีไปใช้ พบว่าสามารถช่วยลดต้นทุนในการผลิตได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย และค่าสารเคมี อย่างไรก็ตามเนื่องจากเป็นโครงการระยะสั้น ดังนั้นเกษตรกรที่ผ่านการอบรมยังไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากการทำเกษตรอินทรีย์ต้องมีความเข้าใจและอาศัยความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการแก้ปัญหาต่าง ๆ ดังนั้นจึงต้องใช้เวลาในการติดตามผล และแนะนำอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ควรจัดให้มีการอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีในระยะยาวในสถานที่จริง เพื่อทำให้เกษตรกรมองเห็นภาพรวมการทำการเกษตรอย่างยั่งยืนได้อย่างชัดเจน |
สาขาการวิจัย |
|