ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ความมากมายของสัตว์ขาปล้องขนาดเล็กในดินและการย่อยสลายของซากพืช บริเวณอุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง นางสาวสิรีมาตร จิตปาโล
คำสำคัญ ความมากมาย;สัตว์ขาปล้องในดิน;อัตราการย่อยสลายของซากพืช;อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ - ปุย
หน่วยงาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สบอ.6 (สงขลา)
ปีที่เผยแพร่ 2560
คำอธิบาย การศึกษาความมากมายของสัตว์ขาปล้องขนาดเล็กในดิน อัตราการย่อยสลายของซากพืช ในป่าเต็งรัง ป่ารอยต่อ และป่าดิบเขา พบว่า ความมากมายเฉลี่ยของสัตว์ขาปล้องขนาดเล็กในดิน คือ 60,737.78 ตัว/ตารางเมตร ซึ่งป่ารอยต่อมีความมากมายของสัตว์ขาปล้องขนาดเล็กในดินมากที่สุด รองมาคือป่าดิบเขา และป่าเต็งรัง ตามลำดับ โดย Acari และ Collembola เป็นกลุ่มที่พบมากที่สุด หรือคิดเป็นร้อยละ 88.27 และความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักแห้งของซากใบที่สูญเสียในแต่ละเดือน กับ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี อุณหภูมิ และความชื้นซากพืช ของป่าทั้ง 3 มีความสัมพันธ์กัน
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


ความมากมายของสัตว์ขาปล้องขนาดเล็กในดินและการย่อยสลายของซากพืช บริเวณอุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง