ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
แผนงานวิจัย : พิสูจน์ประสิทธิผลและความปลอดภัยของงาขี้ม้อนในโรคความจำเสื่อม เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
รองศาสตราจารย์ นพ.กัมมาล กุมารปาวา |
เจ้าของผลงานร่วม |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุสุมา ศรียากูล ,
อาจารย์ ดร.อังคณา กระจ่าง ,
รองศาสตราจารย์ นพ.สมบัติ มุ่งทวีพงษา |
คำสำคัญ |
ภูมิปัญญา;งาขี้ม้อน;Perilla;frutescens;Dementia;Omega-3 |
หน่วยงาน |
วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ |
2560 |
คำอธิบาย |
เมล็ดงาขี้ม้อนมีสัดส่วนของกรดไขมันโอเมก้า 3 สูงถึง 54-64% มีการใช้งาขี้ม้อนเป็นทั้งอาหารและยา และยังใช้เป็นอาหารในเชิงสัญลักษณ์ในงานประเพณีสำคัญๆ เช่น งานบวช งานศพตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แผนงานวิจัยพบว่าการศึกษาหากลไกการยับยั้งการเกิด ER stress และการตายแบบอะพอพโทซิสด้วยสารสกัดใบงาขี้ม้อนทั้งแห้งและสด และน้ำมันงาขี้ม้อน พบว่าสารสกัดใบทั้งแห้งและสด และน้ำมันงาขี้ม้อนสามารถยับยั้งการตายของเซลล์ neuroblastoma ที่เกิดจากการกระตุ้นของโปรตีน Aβ ได้ นอกจากนี้เมื่อศึกษาการยับยั้งกลไก ER stress พบว่าสารสกัดใบงาขี้ม้อนสดสามารถลดการแสดงออกของโปรตีน GRP78/Bip ในเซลล์ที่ทดสอบร่วมกับ Aβ ได้ ในขณะที่สารสกัดใบงาขี้ม้อนแห้งและน้ำมันงาขี้ม้อนกลับเพิ่มการแสดงออกของโปรตีน GRP78/Bip ส่วนการศึกษาประสิทธิผลของน้ำมันงาขี้ม้อนต่อระดับคะแนนความจำในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมระดับอ่อนถึงปานกลางโดยเปรียบเทียบกับยาหลอก พบว่าอาสาสมัครที่ได้รับน้ำมันงาขี้ม้อนมีระดับคะแนนความจำเพิ่มขึ้นดีกว่ายาหลอกและไม่พบอาการข้างเคียงที่รุนแรง |
สาขาการวิจัย |
|