ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การดูดซับตะกั่ว (Pb2+) แคดเมียม (Cd2+) และนิกเกิล (Ni2+) โดยใช้ขี้เลื่อยและขี้เลื่อยปรับสภาพด้วยวิธีกรด-ด่าง |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
นายพลวัฒน์ พาพรมพึก |
คำสำคัญ |
การดูดซับ;โลหะหนัก;ขี้เลื่อย;การปรับสภาพ |
หน่วยงาน |
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
ปีที่เผยแพร่ |
2560 |
คำอธิบาย |
ขี้เลื่อยเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ ซึ่งราคาไม่แพงสามารถนำมาได้เป็นวัสดุดูดซับได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาการดูดซับตะกั่ว แคดเมียม และนิกเกิล โดยใช้ขี้เลื่อยและขี้เลื่อยปรับสภาพด้วยวิธีการกรด-ด่าง พบว่า สภาวะที่เหมาะสมคือ pH เท่ากับ 5 ระยะเวลาที่สัมผัส 120, 180 และ 360 นาที ความเข้มข้นเริ่มต้นที่ 50 มิลลิกรัมต่อลิตร และอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เมื่อพิจารณาค่าความสามารถในการดูดซับสูงสุดในการดูดซับตะกั่ว แคดเมียม และนิกเกิล ของขี้เลื่อยมีค่าเท่ากับ 5.58, 3.99 และ 7.84 และขี้เลื่อยปรับสภาพมีค่าเท่ากับ 7.56, 9.78 และ 9.79 มิลลิกรัมต่อกรัม ตามลำดับ
|
ข้อมูลเพิ่มเติม |
http://research.msu.ac.th/msu_journal/index.php?page=show_journal_article&j_id=2&article_id=1832
|
สาขาการวิจัย |
|