ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การพัฒนาเกณฑ์การประเมินทักษะกระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครู ระดับประถมศึกษา
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง วาทิณี จิตรสำรวย
เจ้าของผลงานร่วม เสรี ชัดแช้ม
คำสำคัญ การประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน;เกณฑ์การประเมิน
หน่วยงาน วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา ม.บูรพา
ปีที่เผยแพร่ 2560
คำอธิบาย บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเกณฑ์การประเมินทักษะกระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครู ระดับประถมศึกษา ด้วยเทคนิคเดลฟายแบบอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 3 รอบ กับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 18 คน จัดลำดับ องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ 2) พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เกณฑ์การประเมิน แบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม PHP และ 3) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการประเมินเพื ่อพัฒนาผู้เรียนระหว่างครูชำนาญ การพิเศษกับครูผู้ช่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบ แมน-วิทนีย์ ยู (Mann-Whitney U test) ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. เกณฑ์การประเมินทักษะกระบวนการประเมินเพื ่อพัฒนาผู้เรียนของครูระดับประถมศึกษาประกอบด้วย 5 ด้าน (20 ตัวบ่งชี ้) ได้แก่ 1) ด้านความรู้เกี ่ยวกับการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียน จำนวน 3 ตัวบ่งชี ้ 2) ด้านความรู้ เกี ่ยวกับการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน จำนวน 3 ตัวบ่งชี ้ 3) ด้านความรู้เกี ่ยวกับการประเมินเพื ่อการเรียนรู้ จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ 4) ด้านความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอน จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ และ 5) ด้านความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์เรียนรู้ ของผู้เรียน จำนวน 3 ตัวบ่งชี ้ สามารถจำแนกระดับทักษะกระบวนการประเมินเพื ่อพัฒนาผู้เรียนของครูระดับประถม ศึกษาออกเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับที่ 1 (ต้องปรับปรุง) ถึงระดับที่ 5 (ดีเด่น) 2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์เกณฑ์การประเมินทักษะกระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครูระดับประถม ศึกษาแบบออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้งานในระดับดี 3. ผลการเปรียบเทียบการประเมินทักษะกระบวนการประเมินเพื ่อพัฒนาผู้เรียนของครูระดับประถมศึกษาระหว่าง ครูชำนาญการพิเศษกับครูผู้ช่วยชี้ให้เห็นว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยครูชำนาญ การพิเศษมีผลการประเมินทักษะกระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนสูงกว่าครูผู้ช่วย ผลการวิจัยยืนยันว่า เกณฑ์การประเมินทักษะกระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะ สมที่จะนำไปใช้ในการประเมินทักษะกระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครูระดับประถมศึกษา
สาขาการวิจัย
  • สังคมศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง