ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการอุทกภัยโดยชุมชน กรณีศึกษา: เฉพาะเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และตำบลดอนฉิมพลี จังหวัดฉะเชิงเทรา |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | นางสาวหทัยทิพย์ นราแหวว |
คำสำคัญ | ภัยพิบัติ, การบริหารจัดการอุทกภัยโดยชุมชน, ชุมชนต้นแบบการจัดการภัยพิบัติจากอุทกภัย |
หน่วยงาน | คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2560 |
คำอธิบาย | การศึกษานี้ได้ชี้ให้เห็นว่าการจัดการอุทกภัยทั้ง 3 พื้นที่ มีความคล้ายคลึงกันในแง่รูปแบบการจัดการและการประสานความร่วมแรงร่วมใจ (Collaboration) ระหว่างตัวแสดงในระดับปฏิบัตินั้นเป็นกระบวนการจัดการปัญหาแบบมีส่วนร่วม ที่มุ่งเน้นการสอดคล้องของเป้าหมายและแนวทางการปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทาง โดยแต่ละขั้นตอนจะทำหน้าที่แตกต่างกันไปตามแต่ภารกิจ ซึ่งพบว่า เทศบาลนครปากเกร็ดมีการจัดการภัยพิบัติที่มีผู้นำเป็นผู้ขับเคลื่อนหลักสำคัญในการดำเนินงาน เพื่อประสานทรัพยากรต่าง ๆ เข้ามาในพื้นที่ ในขณะที่เทศบาลนครหาดใหญ่มีรูปแบบการจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยการบูรณาการร่วมกันในการทำงาน โดยมีรูปแบบเครือข่ายการจัดการของหน่วยงานเป็นสำคัญ (Network Governance) เพื่อประสานสอดรับกับปัญหาที่เกิดขึ้น สอดรับกับตำบลดอนฉิมพลีที่มีรูปแบบการบริหารจัดการภัยพิบัติที่เน้นการสร้างทุนภายในของชุมชนเพื่อนำมาสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกัน ในรูปแบบเครือข่ายทางสังคม (Social Network) นอกจากนี้พบว่า ชุมชนมีลักษณะเป็นพลวัตร (Dynamic) ซึ่งมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา แนวโน้มความร่วมแรงร่วมใจระหว่างตัวแสดงที่เกิดขึ้นในระดับเกิดภัยในลักษณะการประสานการปฏิบัติร่วมกันเท่านั้น จะส่งผลให้การจัดการภัยพิบัติจากอุทกภัยไม่สามารถให้เกิดการบรรลุเป้าหมายทางการจัดการที่ต้องการให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจระหว่างตัวแสดงในระดับปฏิบัติอย่างแท้จริง |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://www.thai-explore.net |
สาขาการวิจัย |
|
การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการอุทกภัยโดยชุมชน กรณีศึกษา: เฉพาะเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และตำบลดอนฉิมพลี จังหวัดฉะเชิงเทรา is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.