ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การเพาะพันธุ์ปลาพลวงชมพูหรือปลากือเราะห์
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง วรรณนัท หิรัญชุฬหะ
คำสำคัญ ปลาพลวงชมพู;ปลากือเลาะห์;การเพาะพันธุ์ปลา
หน่วยงาน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด เขต 12 (สงขลา), คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ปีที่เผยแพร่ 2560
คำอธิบาย ปลาพลวงชมพูหรือปลากือเราะห์ ชื่อที่เรียกในภาคอื่นๆ คือ ปลาเวียร์ ราชาแห่งแม่น้ำสายบุรี ปลาเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยในขณะนี้ระดับต้นๆ ของอาเซียน พบมากในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ราคาแพงและการเพาะพันธุ์ที่ค่อนข้างยุ่งยาก แต่วันนี้กรมประมง ม.อ. และ สกว. สามารถเพาะพันธุ์ปลาได้แล้วเพื่อสร้างอาชีพใหม่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถิ่นกำเนิดที่ป่าบางนารา จ.ยะลาและป่าฮาลาบาลา จ.นราธิวาส ปัจจุบันสามารถเพาะพันธุ์ลูกปลาให้เป็นตัวเต็มวัยได้เป็นรุ่นที่ 2 ส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงที่ อ.เบตง ราคา กก.ละ 2,500-3,000 บาท ระยะเวลาเลี้ยง 3 ปีขึ้นไป จึงต้องเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่น การเลี้ยงฝากเก็บไว้กับธนาคารนี้เมื่อถึงเวลาจะนำมาขายให้ร้านอาหารที่มีชื่อ และปลาชนิดนี้ไม่มีขายในตลาด ต้องมีออร์เดอร์เพื่อไม่ให้ล้นตลาด อนาคตส่งเสริมตั้งเป็นกลุ่มเกษตรกรเพาะพันธุ์ได้ในพื้นที่โดยเฉพาะ จ.ยะลา เพราะแหล่งน้ำมีความอุดมสมบูรณ์มาก อัตราการรอดน้อยเพราะออกไข่ปีละครั้ง และปริมาณน้อยกว่าปลาชนิดอื่นๆ เพียง 500-1,000 ฟองเท่านั้น พ่อแม่พันธุ์ในธรรมชาติมีจำกัด สร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่าปลาชนิดอื่นหลายเท่าตัว
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.youtube.com/watch?v=N4hQg94QJHw&t=23s
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การเพาะพันธุ์ปลาพลวงชมพูหรือปลากือเราะห์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง