ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การพัฒนาฟิล์มห่ออาหารจากวัสดุผสมเทอร์โมพลาสติกสตาร์ช/พอลิบิวทิลีนอะดิเพทโคเทเรฟทาเลท
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ผศ.ดร.อำพร เสน่ห์
เจ้าของผลงานร่วม ผศ.ดร.รังรอง ยกส้าน , ผศ.ดร.น้ำฝน ลำดับวงศ์ , นางสาวอรทัย อินทะ
คำสำคัญ ฟิล์มห่อ;เทอร์โมพลาสติกสตาร์ช;พอลิบิวทิลีนอะดิเพทโคเทเรฟทาเลท;วัสดุผสม;เอ็กซ์ทรูชัน
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่เผยแพร่ 2560
คำอธิบาย แบบฟอร์มสรุปผลงานวิจัย/โครงการวิจัย 5 บรรทัด 1. ชื่อผลงาน/โครงการ (ภาษาไทย) : การพัฒนาฟิล์มห่ออาหารจากวัสดุผสมเทอร์โมพลาสติกสตาร์ช/พอลิบิวทิลีนอะดิเพทโคเทเรฟทาเลท 2. ชื่อผลงาน/โครงการ (ภาษาอังกฤษ) : Development of food wrap films from thermoplastic starch/poly(butylene adipate-co-terephthalate) blend 3. ชื่อ นามสกุล นักวิจัย (ภาษาไทย) : ผศ.ดร. อำพร เสน่ห์, รศ.ดร. รังรอง ยกส้าน, รศ.ดร. น้ำฝน ลำดับวงศ์, อรทัย อินทะ 4. ชื่อ นามสกุล นักวิจัย (ภาษาอังกฤษ) : Amporn Sane, Rangrong Yoksan, Namfone Lumdubwong, Orathai Inta 5. ที่อยู่ที่ติดต่อได้ : 50 ถ.งามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ เบอร์โทร : 02 562 5045 อีเมล์ fagiams@ku.ac.th 6. ชื่อหน่วยงาน : ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 7. ปี พ.ศ. ที่ดำเนินการเสร็จ : 2560 8. คำค้น keyword: film, thermoplastic starch, poly(butylene adipate-co-terephthalate), blend, blown film 9. อ้างอิง (ใส่ URL ที่สามารถเข้าถึงเอกสารได้กรณีเผยแพร่ผลงานฉบับเต็มทางอินเตอร์เน็ต ถ้าไม่มีให้เว้นว่างไว้) 10. รูปภาพ หรือภาพเคลื่อนไหว เม็ดพลาสติกและฟิล์มห่ออาหารจากวัสดุผสมเทอร์โมพลาสติกสตาร์ช/พอลิบิวทิลีน อะดิเพทโคเทเรฟทาเลท 11 คำอธิบาย 5 บรรทัด (font Tohoma ขนาด 10 แบบ Regular) (สรุปรายละเอียดผลงานวิจัย/โครงการวิจัย มีความยาวไม่เกิน 5 บรรทัด อธิบายด้วยภาษาง่าย ๆ เข้าใจได้ง่ายซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานทุกระดับ) โครงการวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาฟิล์มห่อหุ้มอาหารจากวัสดุผสมเทอร์โมพลาสติกสตาร์ช/พอลิบิวทิลีนอะดิเพทโคเทเรฟทาเลท (TPS/PBAT) โดยมีการศึกษาถึงปริมาณกลีเซอรอล (G) และ PBAT ที่เหมาะสมในการปรับปรุงสมบัติเชิงกลและการซึมผ่านของก๊าซเพื่อให้ได้ฟิล์มวัสดุผสมที่เหมาะสำหรับการนำไปห่อหุ้มหรือบรรจุผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์สด ซึ่งพบว่าการเพิ่มปริมาณกลีเซอรอล และ PBAT ส่งผลให้กระบวนการผลิตทำได้ง่ายขึ้น และวัสดุผสมที่เหมาะสำหรับการนำไปพัฒนาเป็นฟิล์มยืดห่อหุ้มอาหาร ได้แก่ 40 TPS-G40/60 PBAT
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง