ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตสารทุติยภูมิ และประสิทธิภาพในการควบคุม โรคขอบใบแห้งของข้าวของแบคทีเรีย Bacillus amyloliquefaciens S20A1
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง พัชราภรณ์ หอมกรุ่น
เจ้าของผลงานร่วม ดร. สุพจน์ กาเซ็ม
คำสำคัญ โรคขอบใบแห้งของข้าว;อาหารเลี้ยงเชื้อ;bacillus amyloliquefaciens;medium optimization;secondary metabolites
หน่วยงาน ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่เผยแพร่ 2561
คำอธิบาย การจัดการโรคพืช (plant disease management) เป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาระบบการผลิตพืช (crop production) ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผลผลิตพืชมีคุณภาพดีที่สุด การควบคุมโรคพืชโดยใช้สารเคมีอย่างไม่เหมาะสมและใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานสามารถกระตุ้นให้เกิดปัญหาการต้านทานสารเคมีของเชื้อสาเหตุโรคพืชหลายชนิด เช่น แบคทีเรีย Xanthomonas oryzae pv. oryzae (Xoo) สาเหตุโรคขอบใบแห้งของข้าว โดยเฉพาะสารเคมีในกลุ่มสารประกอบทองแดง (copper fungicide) และสารปฏิชีวนะสังเคราะห์ เช่น kasugamycin, bismerthiazol และ streptomycin เป็นต้น ดังนั้นการควบคุมโรคด้วยชีววิธี (biocontrol) จึงเป็นวิธีการที่เกษตรกรให้ความสนใจกันมากขึ้น สามารถลดการใช้สารเคมี รักษาสมดุลสภาพแวดล้อม และเป็นแนวทางในการทำการเกษตรแบบยั่งยืน อย่างไรก็ตามการใช้แบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคพืชยังคงไม่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะแบคทีเรียปฏิปักษ์ไม่สามารถคงความมีชีวิตรอดได้ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม การนำสารทุติยภูมิที่แบคทีเรียปฏิปักษ์ผลิตขึ้นมาใช้ในการควบคุมโรคพืชโดยตรงจึงเป็นอีกวิธีการที่น่าสนใจ เพราะสามารถออกฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียสาเหตุโรคพืชได้รวดเร็วกว่าการใช้เซลล์สด อีกทั้งยังช่วยลดการใช้สารเคมีในการควบคุมโรคพืชได้อีกด้วย
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตสารทุติยภูมิ และประสิทธิภาพในการควบคุม โรคขอบใบแห้งของข้าวของแบคทีเรีย Bacillus amyloliquefaciens S20A1 is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง