- นฤมล สมคุณา
- 287 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ผ่านระบบการผลิตแบบเติมอากาศในแตงโมอินทรีย์ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | นายอภิชาติ เมืองซอง |
คำสำคัญ | ปุ๋ยอินทรีย์;ปุ๋ยหมัก;ระบบเติมอากาศ;แตงโม;พืชอินทรีย์ |
หน่วยงาน | ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยโสธร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 กรมวิชาการเกษตร |
ปีที่เผยแพร่ | 2560 |
คำอธิบาย | เนื่องด้วยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยโสธร สังกัดสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 กรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบปัญหาการผลิตทางการเกษตรในพื้นที่จังหวัดยโสธร ได้เล็งเห็นความสำคัญและแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวของเกษตรกรจากตัวแทนกลุ่มเกษตรกร และองค์การบริหารส่วนตำบลลุมพุก โดยเฉพาะปัญหาดินขาดความอุดมสมบูรณ์ และปัญหาขาดแคลนแหล่งปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพอันจะเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาผลผลิตต่ำ ซึ่งสอดคล้องกับ กรมวิชาการเกษตร โดยกลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ดำเนินการพัฒนาต้นแบบระบบการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบเติมอากาศ จากรายงานของ สมปอง (2550) ได้พัฒนาต้นแบบการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบเติมอากาศ และได้แนะนำว่าคุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์ขึ้นอยู่กับชนิดวัตถุดิบและวิธีการหมัก พบว่า เมื่อใช้มูลไก่ผสมแกลบและมูลวัวสัดส่วน 1:1 โดยน้ำหนัก ปรับความชื้นเริ่มต้นประมาณ 60% โดยน้ำหนัก เติมอากาศด้วยโบรวเวอร์ขนาดครึ่งแรงม้า ใบพัดลมมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 นิ้ว กำหนดให้เป่าลมวันละ 6 ครั้งๆละ1ชั่วโมง แต่ละครั้งห่างกัน 3 ชั่วโมง พบว่าสามารถทำให้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้มีคุณภาพสูง มีการย่อยสลายสมบูรณ์ได้เร็ว ไม่มีกลิ่นเหม็นของมูลไก่ มีองค์ประกอบทางเคมีสูง โดยมี อินทรียวัตถุ 56% ไนโตรเจนทั้งหมด 2.6% ฟอสฟอรัสทั้งหมด 6% (เป็นฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 5.9%)โพแทสเซียมทั้งหมด 2.3% แคลเซียมทั้งหมด 2.19% แมกนีเชียมทั้งหมด 1.30% C/N 14/1 การย่อยสลายสมบูรณ์ 130% (GI meth0d) EC 5.6 ไม่พบโลหะหนักเกินค่าที่กำหนดในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท. และได้ขยายผลไปใช้ในงานทดลอง เรื่องการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแก้วมังกรและฝรั่งอินทรีย์ ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม ผลการทดลองพบว่าในปีแรกการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ระบบเติมอากาศช่วยให้ฝรั่งและแก้วมังกรอินทรีย์เจริญเติบโตได้ดีแตกต่างกับตำรับที่ไม่ใช้ปุ๋ยและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเอกชนอย่างชัดเจน โดยทำให้ระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินเพิ่มขึ้น ผลการเปรียบเทียบระดับอินทรียวัตถุในบริเวณทรงพุ่มของฝรั่ง พบว่า กรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เติมอากาศมีระดับอินทรีวัตถุสูงกว่าตำรับที่ไม่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 1 เท่า โดยเพิ่มจากเดิม 2% เป็น 4% ตามลำดับ |
สาขาการวิจัย |
|
การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ผ่านระบบการผลิตแบบเติมอากาศในแตงโมอินทรีย์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.