ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยที่มีผลลัพธ์และผลกระทบต่อชุมชนของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สู่การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจพื้นที่ อำเภอแม่ริมและอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ สู่การเป็นชุมชนต้นแบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์
เจ้าของผลงานร่วม ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรศักดิ์ นุ่มมีศรี , ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัตถ์ อัจฉริยมนตรี , อาจารย์เกษม กุณาศรี , อาจารย์ ดร.สมศักดิ์ บุญแจ้ง
คำสำคัญ การจัดการความรู้ เกษตรปลอดภัย พลังงานทดแทน ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ปีที่เผยแพร่ 2560
คำอธิบาย การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ สู่การเป็นชุมชนต้นแบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน เป็นแนวคิดในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เพื่อพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งโดยการสังเคราะห์องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ได้จากผลงานวิจัย แล้วนำองค์ความรู้ที่ได้มาดำเนินการถ่ายทอดให้ตรงกับความต้องการและศักยภาพของชุมชน กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี มุ่งเน้นการพัฒนาให้เข้ากับบริบทของชุมชนและสามารถนำผลการวิจัยไปต่อยอดองค์ความรู้ในการพัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีดังกล่าวจนสร้างวิทยากรชุมชนที่สามารถถ่ายทอดให้ความรู้ภายในศูนย์การเรียนรู้เกษตรปลอดภัยและพลังงานทดแทนจากชีวมวล รวมทั้งการสร้างระบบช่างชุมชนเพื่อพึ่งพาตนเองในการดูแลรักษาและพัฒนาเทคโนโลยีและจัดทำคู่มือ นอกจากนี้ทีมวิจัยยังทำการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการใช้ประโยชน์จากการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี 3 ด้านประกอบด้วย 1) ด้านเศรษฐกิจ ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการร่วมกลุ่มทำอาชีพเสริมคือการทำเกษตรปลอดภัย บ้านหนองปลามัน และครัวเรือนมีรายจ่ายลดลงจากการใช้ก๊าซชีวภาพทดแทนก๊าซครัวเรือน 2) ด้านสังคม ชุมชนเกิดความสามัคคีขึ้นในชุมชนจากการรวมกลุ่มเพื่อหากิจกรรมร่วมกันเพื่อให้เกิดรายได้ลดรายจ่าย รวมทั้งชุมชนเกิดการน้อมนำตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในครัวเรือนและชุมชนจนเกิดผลต่อคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนที่ดีขึ้นซึ่งเห็นได้จากดัชนีคุณภาพชีวืต และ 3) ด้านสิ่งแวดล้อม ชุมชนเกิดการตระหนักถึงการจัดการน้ำเสียในชุมชน ปัญหามลพิษทางน้ำ โดยสามารถบำบัดและลดสารปนเปื้อนของสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้ตามที่กฎหมายกำหนด อีกทั้งการย่อยสลายอินทรีย์แบบไร้อากาศทำให้ปริมาณเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคพืช บางชนิดลดลงและมีส่วนทำลายการงอกของเมล็ดวัชพืชอีกด้วย สามารถลดรายจ่ายของการใช้สารเคมีของแปลงเกษตรได้ อีกทั้งระยะยาว เกิดประโยชน์จากผลพลอยคือมีการปล่อยของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด (Waste Minimize) ถือเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจากการดำเนินการวิจัยสามารถนำข้อมูลที่ได้นำไปถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้กับประชาชนในชุมชนหรือถ่ายทอดให้กับชุมชนอื่นสู่การเป็นชุมชนต้นแบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง