ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | โครงการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวน้ำหอมติดผลดกทั้งปี |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | รองศาสตราจารย์วรภัทร ลัคนทินวงศ์ |
เจ้าของผลงานร่วม | นายปิยะพงษ์ สอนแก้ว , นางสาวเพ็ญนภา ศิริสลุง |
คำสำคัญ | มะพร้าวน้ำหอม;การผลิตมะพร้าวน้ำหอม;ติดผลดกทั้งปี |
หน่วยงาน | ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต |
ปีที่เผยแพร่ | 2561 |
คำอธิบาย | ปกติมะพร้าวน้ำหอมที่ปลูกเป็นการค้า เกษตรกรมักตัดจั่นผลผลิตมาจำหน่ายมีอายุนับตั้งแต่ติดผลแล้วโดยเฉลี่ยประมาณ 6 ถึง 7 เดือน แต่มะพร้าวที่ส่งออกมักตัดจั่นที่มีอายุประมาณ 6 ถึง 7 เดือนหลังผสมติดเพื่อคุณภาพการบริโภคและการเก็บรักษา มะพร้าวน้ำหอมเพื่อการบริโภคในประเทศ และการส่งออก มักขาดแคลนในฤดูร้อน ปกติมักเริ่มตั้งแต่เดือน ต้นเดือนกุมภาพันธ์หรือปลายเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป ถึงเดือนมิถุนายน ของทุกปี สาเหตุต้องนับย้อนกลับไปภายหลัง 6.5 ถึง 7 เดือน เป็นช่วงที่มะพร้าวนั้นออกดอกติดผลน้อย เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนสิงหา หรือต้นเดือนกันยายนเป็นต้นไปถึงปลายเดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงเข้าฤดูฝนในเขตภาคกลาง มีพายุและฝนฟ้าคะนอง ตกติดต่อกันหลายวัน ช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่มะพร้าวที่ปลูกแบบร่องสวนในพื้นที่ภาคกลางจะมีจำนวนดอกน้อย เนื่องจากปริมาณไนโตรเจนที่มาจากน้ำฝนส่งผลให้เจริญทางลำต้นมากกว่าและน้ำฝนชะล้างช่อดอก ทำให้เกสรขาดสารอาหารในการงอกเพื่อผสมกับดอกตัวเมียบนจั่นมะพร้าว ปัญหาดังกล่าวส่งผลให้มะพร้าวขาดแคลนอย่างยิ่ง ส่งผลให้ราคามะพร้าวจากผลละ 5 บาทต่อผลจากสวนเมื่อปี 2553 เป็นราคา 15-20 บาทต่อผลในปัจจุบัน และราคาขายปลีกที่ตลาดไทยผลละ 25-30 บาทต่อผล และราคาในห้างสรรสินค้าราคาผลละ 40-45 บาทต่อผล ราคาส่งออก FOB 30-35 บาทต่อผล หากเกษตรกรมีผลผลิตจำหน่ายในช่วงเวลาดังกล่าวจะส่งผลดีต่อภาคการผลิตและการส่งออก เนื่องจากประเทศผู้นำเข้ามีความต้องการสูงตลอดปี |
สาขาการวิจัย |
|
โครงการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวน้ำหอมติดผลดกทั้งปี is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.