- ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์
- 285 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ท่ารำเซิ้งกระติบข้าวชาวหนองโน โอทอปมหาสารคาม จากวิธีหัตถกรรมการจักสานสู่ท่ารำนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานสร้างสรรค์ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | พิราภรณ์ พันธุ์มณี |
คำสำคัญ | ท่ารำเซิ้งกระติบข้าว;โอทอปมหาสารคาม;หัตถกรรมจักสาน;ท่ารำนาฏศิลป์ |
หน่วยงาน | สาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม |
ปีที่เผยแพร่ | 2561 |
คำอธิบาย | เซิ้งกระติบข้าวชาวหนองโน โอทอปมหาสารคาม ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานบรรเลงประกอบการแสดงการแสดงเซิ้งกระติบข้าวชาวหนองโน โอทอปมหาสารคาม มีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้ ที่มาของการแสดง จากการศึกษากรรมวิธีงานหัตถกรรมการจักสานกระติบข้าว การแสดงพื้นบ้านอีสานประเภท ฟ้อน หรือ เซิ้ง นิยมใช้วงโปงลาง บรรเลงประกอบการแสดง ซึ่งมี โปงลาง พิณ แคน กลอง ฉิ่ง ฉาบ โหวด เป็นต้น ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ได้รับคำแนะนำและสร้างสรรค์ดนตรีขึ้นมาใหม่ รูปแบบการแสดงเป็นแบบหมู่ เป็นนักแสดงผู้ชาย 6 คน ผู้หญิง 6 คน รวม 12 คน การแต่งกายแบบชาวบ้านภาคอีสาน ผู้ชายสวมเสื้อแขนยาว ผ้านุ่งสั้น ผู้หญิงสวมเสื้อแขนกระบอก นุ่งซิ่นสั้น มีอุปกรณ์การแสดง คือ กระติบข้าวต้นกก ท่ารำท่าเซิ้งของภาคอีสานนั้นมีความเป็นอิสระสูง ไม่มีข้อจำกัดตายตัว ทั้งมือและเท้า ส่วนใหญ่ท่าฟ้อนจะได้มาจากท่าทางหรืออิริยบถธรรมชาติ และมีท่าพื้นฐานที่แตกต่างกันไป ถึงแม้จะมีความคิดจะพยายามกำหนดท่าเซิ้งของภาคอีสานให้เป็นแบบฉบับขึ้น เป็นพื้นฐานในการแสดงนั้น แต่ท่าเซิ้งของอีสานก็ยังมีความเป็นอิสระ ขึ้นอยู่กับผู้ประดิษฐ์เท่านั้น |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.youtube.com/watch?v=i3HQ-nEsB24 |
สาขาการวิจัย |
|
ท่ารำเซิ้งกระติบข้าวชาวหนองโน โอทอปมหาสารคาม จากวิธีหัตถกรรมการจักสานสู่ท่ารำนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานสร้างสรรค์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.