ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง สถาปัตยกรรมศาสตร์ มช. สร้างประติมากรรมแสงแดด ภาพคล้ายพระพักตร์ในหลวง ร.9
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง บุรินทร์ ธราวิจิตรกุล
เจ้าของผลงานร่วม กานต์ คำแก้ว , ลอย ชุนพงษ์ทอง
คำสำคัญ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มช.;ประติมากรรมแสงแดด;พระพักตร์ในหลวง ร.9
หน่วยงาน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปีที่เผยแพร่ 2561
คำอธิบาย แสงแดดที่สาดส่องลงมายังโครงสร้างที่วางไว้ จะปรากฏเงาเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โดยเฉพาะเวลา 15.52 นาที จะเป็นรูปที่สมบูรณ์ที่สุด ตัว plate สามารถปรับองศาได้ ทำให้มองเห็นรูปที่มีความสวยงามได้ตลอดทั้งปี วัสดุที่ใช้ทำจะเป็นสีขาว เน้นความสวยงาม น้ำหนักเบา คงทนนานที่สุด ได้แก่ อะลูมิเนียม คอมโพสิท ตัววัสดุเป็นพื้นลอย เพราะไม่ต้องการทำลายผนัง การหามุมให้แสงตก เริ่มจากเอากระดาษมาทาบบนผนัง แล้วขีดทับเส้นเงาที่ทาบบนผนังเพราะตรงนี้ให้ชัดที่สุด เพราะเมื่อเวลาเปลี่ยนไปแสงจะเปลี่ยนตำแหน่ง ทำการทดลองซ้ำเพื่อให้รู้ว่าเวลา 15.52 น. แสงจะกรีดไปตรงไหนแน่ เพราะแสงมีการเคลื่อนที่ไปทางอื่นในเวลาเดียวกัน แล้วสร้างโมเดลจำลองในคอมพิวเตอร์ที่ตั้งวันเวลาได้ ทำการทดลองในห้องพลังงาน พระอาทิตย์จำลองของคณะ ผลการทดลองทั้งโมเดลจริงและโมเดลในคอมพิวเตอร์ไม่สามารถเชื่อมั่นได้ 100% สิ่งที่เชื่อมั่นได้ 100% คือ แสงจริงที่กรีดบนผนังเวลา 15.52 น. ในช่วงเวลาที่ใกล้กับวันที่ 13 ตุลาคม 2559 มากที่สุด สามารถนำไปใช้ได้ทั้งปี เพราะเป็นกลไกที่ทำให้ตัวฉากหมุนได้ การหมุนจะต้องทำเดือนละครั้ง เพื่อให้ชิ้นงานรับแสงอาทิตย์เวลา 15.52 น. ของทุกเดือน กลไกควบคุมด้วยมือ
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.youtube.com/watch?v=tmRyFqcl-bg
สาขาการวิจัย -
Creative Commons License


สถาปัตยกรรมศาสตร์ มช. สร้างประติมากรรมแสงแดด ภาพคล้ายพระพักตร์ในหลวง ร.9 is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง