ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ความหลากชนิดและดีเอ็นเอบาร์โค้ดของกิ้งกือ บริเวณพื้นที่หมู่เกาะแสมสาร ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | รศ.ดร. ปิโยรส ทองเกิด |
คำสำคัญ | กิ้งกือ;หมู่เกาะแสมสาร;ความหลากหลายทางชีวภาพ;ดีเอ็นเอบาร์โค้ด |
หน่วยงาน | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ปีที่เผยแพร่ | 2561 |
คำอธิบาย | จากผลการสำรวจตัวอย่างในพื้นที่หมู่เกาะแสมสาร ทั้งหมด 5 เกาะ (เกาะแสมสาร เกาะจวง เกาะจาน เกาะคราม และเกาะอีร้า) พบกิ้งกือทั้งหมด 5 อันดับ 5 สปีชีส์ ถือว่ามีความหลากหลายในระดับอันดับของกิ้งกือค่อนข้างมาก แตกต่างกับการศึกษา โดยมากจะอธิบายว่าสิ่งมีชีวิตบนเกาะทั่วไปมักจะมีจำนวนชนิดและความหลากหลายค่อนข้างจำกัด ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด จากการสำรวจยังพบอีกว่าในจำนวนกิ้งกือทั้งหมดที่พบนี้เป็นชนิดพันธุ์จำเพาะถิ่น 2 สปีชีส์ และอีก 3 สปีชีส์เป็นกิ้งกือที่กระจายในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบได้ทั่วไป ทั้งบริเวณแผ่นดินใหญ่และพื้นที่ที่เป็นเกาะ การศึกษาดีเอ็นเอบาร์โค้ดพบว่ามีค่าความแตกต่างทางพันธุกรรมของยีน COI ระหว่างสปีชีส์ของกิ้งกือที่พบบนหมู่เกาะแสมสารเฉลี่ยถึง 26.7 เปอร์เซ็นต์ และระหว่างประชากรสปีชีส์เดียวกันที่อาศัยอยู่คนละเกาะมีค่าเฉลี่ยที่ 5.3 เปอร์เซ็นต์ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://www.rspgchula.sc.chula.ac.th/research/r2557_2.html |
สาขาการวิจัย |
|
ความหลากชนิดและดีเอ็นเอบาร์โค้ดของกิ้งกือ บริเวณพื้นที่หมู่เกาะแสมสาร ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.