- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- 697 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ความหลากหลายและบทบาทของปลวกและมดในระบบนิเวศป่าเต็งรัง จังหวัดน่าน |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดวงแข สิทธิเจริญชัย |
เจ้าของผลงานร่วม | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชัชวาล ใจซื่อกุล , นายนราธิป จันทรสวัสดิ์ |
คำสำคัญ | ความหลากหลายทางชนิด;ปลวก;มด;ป่าเต็งรัง;สวนมะม่วง;จังหวัดน่าน |
หน่วยงาน | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ปีที่เผยแพร่ | 2561 |
คำอธิบาย | ความหลากหลายทางชนิดของปลวกและมดได้ถูกศึกษาในพื้นที่ศึกษาป่าเต็งรังและสวนมะม่วง ในบริเวณสถานีวิจัย Chulalongkorn University Forestry and Research Station ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ในปี 2555, ปี 2556 และในช่วงแล้งร้อนปี 2557 พบปลวก 3 ชนิด ในทั้งสองพื้นที่ ได้แก่ ปลวกชนิด Macrotermes sp. และ Odontotermes sp. ซึ่งอยู่ในวงศ์ย่อย Macrotemitinae, วงศ์ Termitidae และปลวกชนิด Nasutitermes sp. ซึ่งจัดอยู่ในวงศ์ย่อย Nasutitermitinae, วงศ์ Termitidae สำหรับความหลากทางชนิดของมดในทั้งสองพื้นที่ศึกษา พบมดทั้งสิ้น 56 ชนิด จัดอยู่ใน 5 วงศ์ย่อย ได้แก่ วงศ์ย่อย Dolichoderinae (5 ชนิด), วงศ์ย่อย Formicinae (15 ชนิด), วงศ์ย่อย Myrmicinae (22 ชนิด), วงศ์ย่อย Ponerinae (10 ชนิด) และวงศ์ย่อย Pseudomyrmecinae (4 ชนิด) ชนิดของมดที่พบในพื้นที่ป่าเต็งรัง มีน้อยกว่าในพื้นที่สวนมะม่วง มดเด่นที่พบในพื้นที่ป่าเต็งรัง คือ มดแดง Oecophylla smaragdina ในขณะที่มดเด่นในพื้นที่สวนมะม่วง คือ มดง่าม Pheidologeton diversus นอกจากนี้มดทั้งสองชนิดถูกพบในฤดูแล้งมากกว่าฤดูฝน |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://www.rspgchula.sc.chula.ac.th/research/r2557_4.html |
สาขาการวิจัย |
|
ความหลากหลายและบทบาทของปลวกและมดในระบบนิเวศป่าเต็งรัง จังหวัดน่าน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.