- วรชัย รวบรวมเลิศ
- 346 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | วิเคราะห์วรรณศิลป์ในบทเพลงกล่อมเด็กของคนภูไท ตำบลห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร (Literature analysis in Lullabies by Phu Thai People in Hong Saeng, Loeng Noktha district, Yasothon province) |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | อนันตศักดิ์ พลแก้วเกษ |
คำสำคัญ | วรรณศิลป์;บทเพลงกล่อมเด็ก;คนภูไท |
หน่วยงาน | คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด |
ปีที่เผยแพร่ | 2561 |
คำอธิบาย | บทเพลงกล่อมเด็กของคนภูไท ตำบลห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร มีที่มาจาก ความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน นึกจะกล่าวถึงเรื่องอะไรก็จะกล่าวขึ้นเพื่อสัมผัสเชื่อมโยงให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน กล่าวถึงสัตว์ต่าง ๆ เช่น ปลา ไก่ นก แมว ตุ๊กแก วัว ควาย กล่าวถึง อาชีพ เช่น ทำไร่ทำนา เลี้ยงหม่อน เป็นเพลงของชาวบ้าน ซึ่งสืบทอดมาจากปากต่อปากสืบทอดมาหลายชั่วอายุคน อาศัยการฟังและการจดจำ มี กำเนิดที่มาไม่แน่นอนไม่ชัดเจน ส่วนการวิเคราะห์ตัวบทเพลงกล่อมเด็กของคนภูไท พบว่าโครงสร้างของตัวบท แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ 1.รูปแบบและลักษณะของตัวบท 2. วิเคราะห์ด้านภาษา แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะคือ การเปรียบเทียบอุปมา การเปรียบเทียบอุปลักษณ์ การเปรียบเทียบแบบอติพจน์ การเปรียบเทียบสัญลักษณ์ 3. บทบาทของเพลงกล่อมเด็กของคนภูไท คือ 1) ช่วยกล่อมให้เด็กนอนหลับได้เร็วขึ้น 2) เป็นเครื่องมือในการอบรม เลี้ยงดูและขัดเกลาจิตใจ 3) เป็นการสร้างความเพลิดเพลินทั้งต่อผู้ร้องและผู้ฟัง 4) เป็นเครื่องบ่งบอกถึงความเจริญทางวัฒนธรรมของชุมชนและสังคม 5) เป็นการสะท้อนสภาพวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ และค่านิยมของคนในสังคม 6) สะท้อนให้เห็นถึง ความรักความผูกพันระหว่างเด็กกับผู้เลี้ยง 7) เป็นการปูพื้นฐานการศึกษาของเด็ก |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://rerujournal.reru.ac.th/wp-content/uploads/2018/03/OK-4-อนันตศักดิ์-พลแก้วเกษา_เดือนเพ็ญ_สมใจ-เสร้จสมูบรณ์-25.pdf |
สาขาการวิจัย |
|