ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ผ้าฝ้ายย้อมครามจังหวัดสกลนคร |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ราชันย์ นิลวรรณาภา |
เจ้าของผลงานร่วม | นิ่มนวล จันทรุญ , บุญเรือง สุนารักษ์ |
คำสำคัญ | ผ้าฝ้ายย้อมคราม;ชาติพันธุ์ภู้ไทย้อโย้ย |
หน่วยงาน | สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน |
ปีที่เผยแพร่ | 2561 |
คำอธิบาย | กลุ่มชาติพันธุ์ภู่ไทย้อโย้ย ในจังหวัดสกลนคร นิยมนุ่งผ้าย้อมครามมาตั้งแต่อดีต ครามเป็นพืชที่เกิดทั่วไปในธรรมชาติ เมื่อนำมาผ่านกระบวนการหมักจะได้เนื้อครามใช้ในการย้อมผ้า ผ้าฝ้ายย้อมครามมีคุณสมบัติในการดูดซับกลิ่นเหงื่อ สวมใส่สบายจึงนิยมใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ผ้าฝ้ายย้อมครามเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากคุณสมบัติอันวิเศษของครามที่นำมาย้อมผ้าแล้ว สิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความชาญฉลาดของกลุ่มชาติพันธุ์ในเมืองสกลนคร คือลวดลายของผ้าซึ่งมีการสืบทอดกันแต่โบราณสะท้อนผ่านวิถีชีวิตและความเชื่อ แสดงให้เห็นถึงพลังและจิตวิญญาณของผู้คนที่สะท้อนผ่านฝีมืออันปราณีตสะท้อนผ่านลวดลายบนผืนผ้า สิ่งเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในลุ่มน้ำโขง ลวดลายบนผืนผ้าย้อมครามนั้น เป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าผู้คนในบริเวณลุ่มน้ำโขงนี้ มีวิถีชีวิต มีประวัติศาสตร์ที่มีความเกี่ยวโยงและสัมพันธ์กันเนื่องจากลวดลายต่างๆที่ปรากฎนั้น มีความคล้ายคลึง มีการปรับเปลี่ยนไปในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ แต่ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และอัตลักษณ์อันมีความสวยงามปราณีต และสะท้อนจิตวิญญาณของความเป็นคนกลุ่มชาติพันธุ์ลุ่มน้ำโขงอย่างแท้จริง |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.youtube.com/watch?v=1q45M3oAjlE |
สาขาการวิจัย |
|
ผ้าฝ้ายย้อมครามจังหวัดสกลนคร is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.