ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อการติดตามการเผาหรือจุดความร้อน (Fire Hotspot) สู่ชุมชนในพื้นที่ จังหวัดเชียงราย |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
ดร.นิอร สิริมงคลเลิศกุล |
เจ้าของผลงานร่วม |
ผอ.ปรีชา ทองคำเอี่ยม ,
นางสาวชมนพร นามวงค์ |
คำสำคัญ |
การติดตามการเผา;การเผาหรือจุดความร้อน;Fire Hotspot |
หน่วยงาน |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตเชียงราย |
ปีที่เผยแพร่ |
2561 |
คำอธิบาย |
การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับหมอกควันและฝุ่นละอองในพื้นที่มีหลายหน่วยงานทั้งจากภาครัฐและภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางนโยบายและแผนการปฏิบัติการต่างๆเพื่อลดการเผาซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดหมอกควันและฝุ่น โดยทุกหน่วยงานได้มีเป้าหมายที่จะให้ความสำคัญกับการทำงานเชิงรุกและการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้น โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควันไฟป่าละปัญหาการเผาในที่โล่ง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่เป้าหมายและพื้นที่วิกฤต แต่จากการดำเนินการที่ผ่านมาพบว่า การดำเนินการเพื่อควบคุมการเผาในที่โล่ง ทั้งส่วนที่เป็นแผนงานและมาตรการต่างๆ นั้น ยังไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน การดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่างฝ่ายต่างดำเนินการ ไม่มีการผนวกแผนงานระหว่างหน่วยงาน ขาดการเชื่อมโยงปัญหา ขาดการสร้างเครือข่ายของการเฝ้าระวัง จึงทำให้การควบคุมและงดเว้นการเผาในที่โล่งนั้นยังไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควร (สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงราย, 2553) นอกจากนี้ยังพบว่าขาดการชุมชนและสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งสำหรับการเฝ้าระวังการเกิดการเผาในพื้นที่เสี่ยงอีกด้วย ในส่วนของการปฏิบัติของทางภาครัฐยังพบว่าระบบการแจ้งเหตุเกี่ยวกับการเกิดจุดเผา มีความล่าช้าจึงทำให้ไฟเกิดการเผาลุกลาม ขยายเป็นบริเวณกว้าง เจ้าหน้าที่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญยังทำให้เกิดปัญหาหมอกควันทั่วทั้งพื้นที่และส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่อีกด้วย |
สาขาการวิจัย |
-
|