ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลสำหรับใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวพิษณุโลก2 และปทุมธานี1 ให้ทนทานต่ออุณหภูมิสูงในช่วงเจริญพันธุ์(ปีที่2)
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชเนษฎ์ ม้าลำพอง
เจ้าของผลงานร่วม นายสุไลมาน เจ๊ะอาบู , นายศิวเรศ อารีกิจ , นายศิริพัฒน์ เรืองพยัคฆ์ , นายเอกวัฒน์ ไชยชุมภู , นายชาตรี แสนสุข , นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ พีรพล ม่วงงาม , นายบุญธง วสุริย์ , นางสาวพัชราภรณ์ รักชุม
คำสำคัญ ข้าว;การทนร้อน;การปฏิสนธิ;การผสมกลับ;เครื่องหมายโมเลกุลสำหรับการคัดเลือก;บันทึกลักษณะพันธุกรรม;บันทึกลักษณะปรากฏ
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
ปีที่เผยแพร่ 2561
คำอธิบาย โครงการวิจัยนี้ เป็นการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ทนทานต่ออุณหภูมิสูงในช่วงเจริญพันธุ์โดยวิธีผสมกลับโดยมีการพัฒนาโมเลกุลเครื่องหมายสำหรับเป็น Marker-assisted selection (MAS) และได้เริ่มสร้างประชากรผสมกลับของข้าวพันธุ์พิษณุโลก2 และปทุมธานี1 ให้ทนทานต่ออุณหภูมิสูงโดยต่อยอดจากการค้นพบสายพันธุ์เจ้าหอมนิลพันธุ์กลายที่ทนทานต่ออุณหภูมิ (M9962) เมื่อเสร็จสิ้นโครงการจะได้ประชากรผสมกลับของพันธุ์พิษณุโลก2 ชั่วที่ BC3F5 และปทุมธานี1 ชั่วที่ BC2F3 ที่มีความสามารถในการติดเมล็ดได้มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ในสภาพอุณหภูมิสูง และมีพันธุกรรมใกล้เคียงพันธุ์เดิม ซึ่งจะสามารถนำไปต่อยอดในการผสมพันธุ์และคัดเลือกได้ทั้งในระดับแปลงนาวิจัยและโรงเรือนจำลองสภาวะอุณหภูมิสูง เพื่อลดความเสี่ยงจากอุณหภูมิสูงของการปลูกข้าวทั้งในระบบนาน้ำฝนและนาชลประทาน ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับในการผลิตข้าวในสภาพที่มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคตอันใกล้ อีกทั้งยังทราบข้อมูลการทนทานต่ออุณหภูมิสูงของพันธุ์ข้าวที่มีอยู่แล้วของกรมการข้าว เพื่อให้เกษตรกรสามารถเลือกใช้พันธุ์ข้าวสำหรับการปลูกในสภาพอุณหภูมิในปัจจุบัน
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง