- กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
- 369 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การประยุกต์ใช้พลาสมาเจ็ตแบบหลายรูเพื่อเพิ่มอัตราการงอกของเมล็ดพันธุ์ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ผศ.ดร.อาทิตย์ ฉิ่งสูงเนิน |
เจ้าของผลงานร่วม | ผศ.ดร.วราภรณ์ สุทธิสา , ผศ.ดร.พิษณุ พูลเจริญศิลป์ , ผศ.ดร.ปรเมษฐ์ จันทร์เพ็ง |
คำสำคัญ | multi-hole plasma jet;germination rate;growth rate;plasma treatment |
หน่วยงาน | ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
ปีที่เผยแพร่ | 2561 |
คำอธิบาย | งานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลของการใช้พลาสมาทรีตเมล็ดพันธุ์ โดยใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิและคะน้าฮ่องกงเป็นตัวอย่าง ผลของการใช้พลาสมาความดันต่ำทรีตเมล็ดพันธุ์ โดยใช้อากาศและแก๊สออกซิเจนเป็นแก๊สตั้งต้น จากนั้นทดสอบการงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยวิธีการ Blotter test พบว่าในกรณีของเมล็ดพันธุ์ข้าว ค่าเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการทรีตและไม่ผ่านการทรีตมีค่าใกล้เคียงกัน แต่เมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการทรีตจะมีความยาวรากและความหนาแน่นของจำนวนรากมากกว่าเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ผ่านการทรีต ในกรณีของเมล็ดพันธุ์คะน้าฮ่องกง ค่าเปอร์เซ็นต์การงอกและอัตราการโตของเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการทรีตมีแนวโน้มต่ำกว่าเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ผ่านการทรีตเล็กน้อย การใช้พลาสมาที่ความดันต่ำทรีตเมล็ดพันธุ์จะต้องเลือกใช้กำลังไฟฟ้าไม่สูงเกินไปจนอาจมีความร้อนสะสมทำลายโครงสร้างของเมล็ดได้ และผลจาดการพัฒนา “พลาสมาเจ็ตแบบหลายรู” พบว่าสามารถจุดพลาสมาได้ดีเมื่อใช้แก๊สอาร์กอน พลาสมาติดครบทุกรูและไม่เกิดการอาร์ค โดยหัวพลาสมาถูกยึดติดกับเครื่องสแกน x-y-z เพื่อควบคุมการเคลื่อนที่ของแนวลำพลาสมาเจ็ตให้กวาดผ่านเมล็ดพันธุ์อย่างทั่วถึงมากขึ้น |
สาขาการวิจัย |
|
การประยุกต์ใช้พลาสมาเจ็ตแบบหลายรูเพื่อเพิ่มอัตราการงอกของเมล็ดพันธุ์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.