- ดร.นภฉัตร ธารีลาภ
- 381 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ศิลาวรรณาและวิทยาแร่ของหมวดหินมหาสารคาม พื้นที่บ้านตาล อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ลัดดา แต่งวัฒนานุกุล |
เจ้าของผลงานร่วม | นุชิต ศิริทองคำ |
คำสำคัญ | ศิลาวรรณา วิทยาแร่ หมวดหินมหาสารคาม แร่ดิน บำเหน็จณรงค์ ชัยภูมิ |
หน่วยงาน | กรมทรัพยากรธรณี |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | พื้นที่สำรวจพื้นที่บ้านตาล ตำบลบ้านตาล อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ ทำการเจาะสำรวจแร่โพแทชทั้งหมด 5 หลุม ครอบคลุมพื้นที่ 16 ตารางกิโลเมตร พบชั้นแร่โพแทช มีความหนาตั้งแต่ 10 ถึง 50 เมตร สะสมตัวเหนือชั้นหินเกลือ โดยผลการศึกษาธรณีวิทยาของหลุมเจาะสำรวจแสดงลักษณะของชั้นแร่และชั้นตะกอนแตกต่างกันสามารถจำแนกตามธรณีวิทยาและแร่องค์ประกอบออกเป็น 3 หน่วย ตามระดับลึก คือ หน่วยที่ 1 หน่วยล่างสุด ประกอบด้วยชั้นแร่แฮไลต์ ชั้นโพแทช และชั้นดินเหนียว ชั้นแร่แฮไลต์ที่มีความหนามากกว่า 30 เมตร ที่แทรกสลับด้วยสายแร่แอนไฮไดรต์และคลอไรต์ที่มีความกว้างของสายแร่ไม่เกิน 15 เซ็นติเมตร ชั้นโพแทชประกอบด้วยแร่คาร์นัลไลต์และซิลไวต์สะสมตัวร่วมกับแร่แฮไลต์ ทั้งชั้นแฮไลต์และชั้นโพแทชปิดทับด้วยชั้นดินเหนียวที่มีความหนาตั้งแต่ 10 ถึง 30 เมตร ชั้นดินเหนียวนี้ประกอบด้วยแร่เคโอลีไนต์ อิลไลต์ คาร์นัลไลต์ ซิลไวต์ แทรคีไฮไดรต์ แอนไฮไดรต์ ยิปซัม ไพไรต์ แบไรต์และคลอไรต์ (รูปที่ 1 และ 2) และยังพบธาตุร่องรอยสะสมร่วมหลายธาตุ (ผลการวิเคราะห์เฉพาะจุดด้วยเครื่อง EDX-SEM คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) อย่างเช่น กลุ่มธาตุหายาก แลนทานัม ซีเซียมและนีโอเดียม นอกจากนี้ยังพบธาตุอื่น ๆ เช่น ทอเรียม เซอร์คอนและไททาเนียม หน่วยที่ 2 ประกอบด้วยชั้นแร่แฮไลต์ ชั้นแอนไฮไดรต์และชั้นดินเหนียว ซึ่งพบว่าชั้นแร่แฮไลต์มีลักษณะสีน้ำตาลแดงที่น่าจะเกิดสีของแร่มลทินที่เป็นแร่ฮีมาไทต์ ชั้นแอนไฮไดรต์แสดงลักษณะเป็นชั้นสะสมตัวเป็นชั้นที่มีความหนาถึง 5 เมตร ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของหน่วยที่ 2 ที่แตกต่างจากหน่วยที่ 1 และ 3 ส่วนชั้นดินเหนียวในหน่วยที่ 2 พบว่ามีสีน้ำตาลแดงอ่อนถึงเข้ม ประกอบด้วยแร่เกาลิไนท์ อิลไลต์ แทชชีไฮไดรต์ ซิลไวต์ แอนไฮไดรต์ ยิปซัม ฮีมาไทต์และคลอไรต์บ้าง โดยแร่แอนไฮไดรต์ในชั้นดินเหนียวตกผลึกเดี่ยวและสะสมตัวตามแนวรอยแตกในดินเหนียว หน่วยที่ 2 ปิดทับด้วยชั้นหินทรายและดินดาน หน่วยที่ 3 ประกอบด้วยชั้นแร่แฮไลต์ ชั้นดินเหนียวและปิดทับด้วยชั้นหินทรายและดินดาน ชั้นแร่แฮไลต์พบว่ามีสีขาวขุ่นและสีน้ำตาลแดง พบสายแร่แอนไฮไดรต์แทรกสะสมตัวเป็นสายบาง ๆ ในชั้นดินเหนียวนั้นพบว่าประกอบด้วยแร่เกาลิไนท์ อิลไลต์ ฮีมาไทต์ แอนไฮไดรต์ ยิปซัม พบแทชชีไฮไดรต์บ้าง แต่ไม่พบแร่โพแทชและร่องรอยของธาตุหายากในหน่วยที่ 3 แหล่งแร่โพแทชพื้นที่จังหวัดชัยภูมิในแอ่งโคราชพบว่ามีลักษณะทางธรณีวิทยาใกล้เคียงกับแหล่งแร่โพแทชคาร์ลซบัด ในสหรัฐอเมริกา (Carlsbad, US) ทั้งทางด้านการสะสมตัวเป็นชั้นหนาและลักษณะการวางตัวของชั้นแร่แฮไลต์ ชั้นแร่แอนไฮไดรต์ รวมถึงแร่โพแทช หากแต่แหล่งแร่โพแทชในพื้นที่ชัยภูมิพบว่ามีปริมาณของแร่แทชชีไฮไดรต์สูงมากกว่าแหล่งแร่โพแทชอื่นทั่วโลก โดยแร่แทชชีไฮไดรต์สะสมตัวร่วมกับคาร์นัลไลต์และซิลไวต์ในชั้นดินเหนียวและชั้นแร่โพแทช |
สาขาการวิจัย |
|
ศิลาวรรณาและวิทยาแร่ของหมวดหินมหาสารคาม พื้นที่บ้านตาล อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.