ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การสำรวจต้นระเวียง ภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์ และฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากต้นระเวียงในพื้นที่ตำบลหนองระเวียง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ศศิธร อินทร์นอก
เจ้าของผลงานร่วม สิตาภา เกื้อคลัง , ชนิดา กุประดิษฐ์ , จิรายุส วรรัตน์โภคา
คำสำคัญ ระเวียง;ภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์;ต้านอนุมูลอิสระ;ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรค
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
ปีที่เผยแพร่ 2561
คำอธิบาย ระเวียง (Catunaregam tomentosa Tirveng) หรือ หนามแท่ง หรือ เคล็ด อยู๋ในวงศ์ Rubiaceae เป็นพันธุ์ไม้ที่พบกระจายอยู่ในพื้นที่ป่า ถือเป็นสัญลักษณ์ของพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และเป็นพันธุ์ไม้ดั้งเดิมในตำบลหนองระเวียง สรรพคุณทางสมุนไพร ทั้งต้น มีรสเฝื่อนเล็กน้อย ปรุงเป็นยารักษาโรคเบาหวาน แก้โรคมะเร็งต่าง ๆ เช่น มะเร็งตับ มะเร็งในกระดูก แก้วัณโรค ผลแก่นำมาทุบพอแหลก ใช้ซักผ้า ทำความสะอาดร่างกาย และสระผม หรือนำน้ำจากการแช่ผลมาใช้ในการเบื่อปลาได้ด้วย คนอีสานนิยมนำกิ่งมาทำสาก (ไม้ตีพริก) เชื่อว่าช่วยดูดสารพิษจากอาหาร ส่วนรากมีการใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่นในตำรับยาพื้นบ้านรักษาอาการท้องร่วง
ข้อมูลเพิ่มเติม http://khajornsak.net/rspg2558/pdf/5_Poster/P25.pdf
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การสำรวจต้นระเวียง ภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์ และฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากต้นระเวียงในพื้นที่ตำบลหนองระเวียง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง