ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | แนวความคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมไทย: กรณีศึกษาผลงานการออกแบบหอพระพุทธรูปโดย รองศาสตราจารย์ ภิญโญ สุวรรณคีรี ราชบัณฑิต ศิลปินแห่งชาติ (Thai architectural design concept: case studies of designs for Buddha Shrines by Assoc. Prof. Pinyo Suwankiri, Royal Acad |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | นภัส ขวัญเมือง |
คำสำคัญ | แนวความคิดในการออกแบบ;สถาปัตยกรรมไทย;หอพระพุทธรูป |
หน่วยงาน | สาขาสถาปัตยกรรมไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ปีที่เผยแพร่ | 2561 |
คำอธิบาย | แนวความคิดในการออกแบบหอพระพุทธรูปทั้ง 17 แนวความคิด สามารถจัดได้ 4 กลุ่มคือ การออกแบบที่สัมพันธ์กับองค์พระพุทธรูป (องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของโครงการ) การออกแบบที่สัมพันธ์กับที่ตั้ง(นำภูมิ-สถาน ชื่อ หรือสีประจำสถานที่ตั้ง มาประยุกต์) การออกแบบที่สัมพันธ์กับการรับรู้ด้วยการมอง (จตุรมุข โล่ง และยกฐานสูง) และการออกแบบที่สัมพันธ์กับวาระพิเศษ (สร้างในวาระสำคัญ) ที่ตั้งของอาคารแสดงถึงความสำคัญของที่ตั้ง เช่น แนวแกนหรือบริเวณสำคัญ บริเวณทางเข้าหลัก หรือมองเห็นได้จากทางเข้าหลัก อาคารขนาดเล็กมักอยู่ใกล้กับทางเข้าหลักมากกว่าอาคารขนาดกลางและอาคารขนาดใหญ่ ขนาดของอาคารและการใช้งาน เช่น มหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ อาคารจะขนาดใหญ่และมีพื้นที่มากขึ้น |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://www.arch.chula.ac.th/ejournal/files/article/109_20160106153601_PB.pdf |
สาขาการวิจัย |
|