ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การถ่ายทอดเทคโนโลยีปลูกผักไร้ดินและเพาะเห็ดฟาง จากน้ำทิ้งและกากตะกอนระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียข้าวเกรียบปลา(กรือโป๊ะ) วิสาหกิจชุมชนบ้านดาโต๊ะ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยะโก๊ะ ขาเร็มดาเบะ |
เจ้าของผลงานร่วม |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ซูไฮมิน เจ๊ะมะลี ,
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุษา อ้นทอง |
คำสำคัญ |
น้ำทิ้งกรือโป๊ะ;ปลูกผักไร้ดิน;น้ำหมักชีวภาพ |
หน่วยงาน |
มหาวิทยาลัยฟาฏอนี |
ปีที่เผยแพร่ |
2561 |
คำอธิบาย |
การส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการประยุกต์ใช้น้ำทิ้งและกากตะกอนจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพ ซึ่งได้จัดทำระบบหมักก๊าซชีวภาพขนาด 500 ลิตร เมื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารหลักที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) เท่ากับ 422.42 47.14 476.12 mg/L ตามลำดับ นำน้ำหมักชีวภาพและกากตะกอนจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพที่ได้ จากระบบหมักก๊าซดังกล่าว นำมาประยุกต์ใช้สำหรับปลูกผักแบบไร้ดินได้ แต่ถ้าจะใช้น้ำหมักชีวภาพเพียงอย่างเดียวในการปลูกทั้งหมด จะส่งผลทำให้ผักไม่สามารถเจริญเติบโตเต็มที่ได้ เนื่องจากองค์ประกอบของธาตุอาหารหลัก คือ ฟอสฟอรัส (P) มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ดังนั้นจึงต้องใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์(สารละลาย A + สารละลาย B) ผสมกับน้ำหมักชีวภาพในอัตราส่วนร้อยละ 50: 50 เพื่อใช้เป็นแหล่งธาตุอาหารร่วมกัน ข้อดีของการนำน้ำหมักชีวภาพมาผสมกับสารละลาย A และสารละลาย B จากวิเคราะห์หาปริมาณไนเตรทด้วยวิธี Colorimetric ในผักบุ้ง และผักกวางตุ้งฮ่องเต้ จากการวิเคราะห์ พบว่าปริมาณไนเตรทที่สะสมอยู่ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ ช่วง 2,500 – 3,000 ม.ก. ไนเตรท/ก.ก. น้ำหนักสด อีกทั้งสามารถสร้างรายได้และลดรายจ่ายให้กับกลุ่มวิสาหกิจ ผลิตกรือโป๊ะชุมชนบ้านดาโต๊ะ อำเภอ ยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ด้วยการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดินและเพาะเห็ดฟาง เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น โดยเฉลี่ยช่วยลดการซื้อผักประมาณเดือนละ 300-500 บาทต่อเดือน ตอนนี้ลดลงเหลือเฉลี่ยประมาณ 100 บาทต่อเดือน ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้จริง และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อเห็ด ลดรายจ่ายในครัวเรือนได้ประมาณเดือนละ 100-250 บาท |
สาขาการวิจัย |
-
|