ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การพัฒนาเกณฑ์การประเมินการจัดการธุรกิจของกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกร |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
วีระ ศิลปรัตนาภรณ์ |
เจ้าของผลงานร่วม |
รองศาสตราจารย์ ดร.เสรี ชัดแช้ม ,
ดร.อุทัยพร ไก่แก้ว |
คำสำคัญ |
การจัดการธุรกิจชุมชน;กลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกร;เกณฑ์การประเมิน |
หน่วยงาน |
วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวทยาลัยบูรพา |
ปีที่เผยแพร่ |
2562 |
คำอธิบาย |
การจัดการธุรกิจชุมชนเป็นกระบวนการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจโดยอาศัยปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นหลัก เป็นกิจกรรมการผลิตที่เกื้อกูลเหมาะสมต่อวิถีชีวิตและระบบนิเวศน์ของแต่ละชุมชน การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเกณฑ์การประเมินการจัดการธุรกิจของกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรด้วยเทคนิค เดลฟายแบบอิเล็กทรอนิกส์ และจัดลำดับด้านและตัวบ่งชี้ด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ 2) พัฒนาโปรแกรมการประเมินแบบออนไลน์ และ 3) เปรียบเทียบผลการประเมินการจัดการธุรกิจของกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรระหว่างกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรทั่วไปกับกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรที่ได้รับรางวัล ด้วยสถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ ยู ผลการวิจัยปรากฏว่า
1. เกณฑ์การประเมินการจัดการธุรกิจของกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกร ประกอบด้วย 7 ด้าน (22 ตัวบ่งชี้) ได้แก่ 1) ด้านลูกค้า 2) ด้านการจัดการบัญชีการเงิน 3) ด้านการผลิต 4) ด้านการเงิน 5) ด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล 6) ด้านการจัดการความรู้และข้อมูลทางธุรกิจ และ 7) ด้านผู้นำกลุ่มธุรกิจชุมชนและเครือข่าย สามารถจำแนกระดับการจัดการธุรกิจของกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกร ออกเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับที่ 1 (ควรปรับปรุงอย่างเร่งด่วน) ถึงระดับที่ 5 (ดีมาก)
2. ผลการประเมินโปรแกรมคอมพิวเตอร์การประเมินการจัดการธุรกิจของกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรแบบออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้งานได้
3. ผลการจัดการธุรกิจของกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรระหว่างกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรทั่วไปกับกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรที่ได้รับรางวัล ปรากฏว่า กลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรที่ได้รับรางวัลมีการจัดการธุรกิจดีกว่ากลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรทั่วไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งชี้ให้เห็นว่า เกณฑ์การประเมินการจัดการธุรกิจของกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรมีคุณภาพดี เชื่อถือได้ และมีความตรงเชิงสภาพ
งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2561 |
ข้อมูลเพิ่มเติม |
|
สาขาการวิจัย |
|