- เอกรินทร์ พึ่งประชา
- 641 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมท้องถิ่น: ศึกษากรณีงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ (Local culture changes: a case study of Phrapradaeng Songkran festival in Phrapradaeng district, Samutprakarn province) |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สรรเกียรติ กุลเจริญ |
คำสำคัญ | ประเพณีสงกรานต์พระประแดง;วัฒนธรรมท้องถิ่น |
หน่วยงาน | สาขาวิชาไทยศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | ประเพณีสงกรานต์พระประแดงดั้งเดิม มีความเป็นมาจากความเชื่อของชาวมอญ จะเกี่ยวพันให้ชาวมอญได้ยึดมั่นและบำรุงพระพุทธศาสนา กตัญญูต่อบรรพชนและบุพพการีที่ล่วงลับและแสดงความเคารพต่อบุพพการีที่ตนเคารพนับที่ยังมีชีวิตอยู่ สร้างความสามัคคี ประกอบด้วย การทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรม การส่งข้าวสงกรานต์ การกวนกาละแม การเล่นสะบ้า การค้ำต้นโพธิ์ การปล่อยปลา ปล่อยนก การแห่หงส์ธงตะขาบ การสรงน้ำพระพุทธรูป-รดน้ำ ขอพรผู้ใหญ่และ การทะแยมอญ ประเพณีที่เริ่มสูญหายไป เช่น การส่งข้าวสงกรานต์ การค้ำต้นโพธิ์และการแสดงทะแยมอญ ที่ยังคงอยู่เป็นเพียงการแสดงสาธิตให้กับนักท่องเที่ยวได้รับชม เท่านั้น ประเพณีขึ้นมาใหม่ได้แก่ การแห่หงส์ธงตะขาบ แห่นางสงกรานต์ประกวดนางสงกรานต์และหนุ่มลอยชาย ขบวนแห่รถบุปผาชาติ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/53810217.pdf |
สาขาการวิจัย |
|