- รองศาสตราจารย์เกษม อัศวตรีรัตนกุล
- 1373 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | เทคโนโลยีการนำมูลสัตว์มาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพเป็นแหล่งพลังงานทดแทนระดับครัวเรือน |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ |
คำสำคัญ | ก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์;พลังงานทดแทนระดับครัวเรือน |
หน่วยงาน | คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
ปีที่เผยแพร่ | 2561 |
คำอธิบาย | ในชุมชนที่มีเกษตรกรที่ทำการเลี้ยงสัตว์มักจะประสบปัญหาของช่วยลดมลภาวะต่าง ๆ ที่เกิดจากการทำฟาร์ม เช่น กลิ่น น้ำเสีย และแมลงวันเพื่อที่จะลดปัญหาที่เกิดขึ้น จึงเกิดแนวความคิดที่จะกำจัดสิ่งปฏิกูลต้นเหตุ โดยการใช้สิ่งปฏิกูลดังกล่าวมาแปลงเป็นแก๊สชีวภาพ เป็นพลังงานทดแทนสำหรับการจุดตะเกียงให้แสงสว่างและการหุงต้มในครัวเรือน และนำกากจากมูลสัตว์ที่ผ่านการย่อยสลายแล้วมาใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ อันเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตและลดต้นทุนการผลิตแก่เกษตรกรในชุมชน ถุงหมักก๊าซชีวภาพช่วยลดปัญหามลภาวะจากมูลสัตว์/อินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อย ซึ่งมีอยู่ในชุมชนและครัวเรือน เป็นแหล่งพลังงานทดแทนช่วยให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อก๊าซหุงต้ม (LPG) ได้อย่างน้อยเดือนละ 1 ถัง หรือประมาณ 300 บาท |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://www.most.go.th/main/th/org/1533.html |
สาขาการวิจัย | - |
เทคโนโลยีการนำมูลสัตว์มาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพเป็นแหล่งพลังงานทดแทนระดับครัวเรือน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.