ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การวิเคราะห์รูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น กรณีศึกษา : อาคารที่พักแบบโฮมสเตย์ จังหวัดสมุทรสงคราม (Local Architecture Model Analysis : A Case Study of Home Stays in Samut SongKhram)
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง วินัย หมั่นคติธรรม
คำสำคัญ รูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น;การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ;โฮมสเตย์
หน่วยงาน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ปีที่เผยแพร่ 2561
คำอธิบาย ลักษณะของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม มี 2 แบบ คือ แบบเรือนไทยที่มีลักษณะหลังคาทรงสูงแบบพู่ระหง มีความอ่อนช้อยงดงาม และแบบหลังคาทรงมนิลา ทรงเตี้ย และเมื่อศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมของอาคารที่พักแบบโฮมสเตย์ ภายในจังหวัด สามารถจัดกลุ่มของโฮมสเตย์ ได้เป็น 6 กลุ่ม โดยมีกลุ่มเรือนสมัยใหม่มากที่สุด รองลงมา ได้แก่ กลุ่มเรือนพื้นบ้าน กลุ่มเรือนไทยที่มีการดัดแปลง กลุ่มเรือนไทย กลุ่มเรือนแถว และกลุ่มเรือนพิเศษ ตามลำดับ สาเหตุที่ก่อให้เกิดของการเปลี่ยนแปลงตัวเรือน มาจากเหตุผลหลัก 6 ประการ ได้แก่ 1) สาเหตุจากการผุพัง และเสื่อมสลายของวัสดุ 2) การขาดความรู้ทางด้านการอนุรักษ์ และขาดผู้ให้คำแนะนำวิธีการดูแลรักษา 3) การอพยพย้ายถิ่นฐาน 4) การขาดแคลนช่างฝีมือ 5) ราคาวัสดุมีราคาแพง และ 6) ค่านิยมที่ต้องการมีบ้านสมัยใหม่แบบคอนกรีตเสริมเหล็ก
ข้อมูลเพิ่มเติม http://rdi.ssru.ac.th/journal/files/journal/journal2553/1.pdf
สาขาการวิจัย
  • มนุษยศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง