ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | กลวิธีทางภาษาสื่อวาทกรรมหญิงรักหญิงในนิตยสาร @tom actz |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | พิมพ์วดี รุ่งเรืองยิ่ง |
เจ้าของผลงานร่วม | โสภี อุ่นทะยา |
คำสำคัญ | วาทกรรม;อุดมการณ์;หญิงรักหญิง |
หน่วยงาน | สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | การศึกษานิตยสาร @tom actz ปีพิมพ์ 2550-2557 จำนวน 43 ฉบับ 191 บท พบกลวิธีการใช้ภาษา 5 รูปแบบ ได้แก่ การเลือกใช้ศัพท์ การใช้มูลบท การใช้ทัศนภาวะ การอ้างถึง และการใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ในการประกอบสร้าง “ความเป็นหญิงรักหญิง” บางประการขึ้นมา คือ 1) ชุดความคิดเกี่ยวกับ “หญิงรักหญิงเป็นเรื่องของสิทธิส่วนบุคคล” ในลักษณะการเลือกใช้คำและการอ้างถึง 2) ชุดความคิดเกี่ยวกับ “หญิงรักหญิงไม่สามารถหลุดพ้นความคิดปิตาธิปไตยได้” การใช้มูลบท และตั้งคำถามเชิงวาทศิลป์ สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของชุดความรู้ในเรื่องเพศกระแสหลักในการประกอบสร้างความจริงที่ฝังแน่นในวิถีวัฒนธรรมของคนในสังคม 3) ชุดความคิดเกี่ยวกับ “การสร้างความเป็นอื่นของหญิงรักหญิง” ใช้ทัศนภาวะ สะท้อนการแบ่งแยกความเป็นอื่นระหว่างเพศกระแสหลักกับกลุ่มหญิงรักหญิง |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/79234 |
สาขาการวิจัย |
|