- รองศาสตราจารย์ ดร.ผณินทรา ธีรานนท์
- 545 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ศิลปะสื่อผสมเกี่ยวกับเครื่องประดับร่างกายซึ่งมีที่มาจากรูปทรงของอวัยวะภายใน ภายใต้แนวคิด “เครื่องประดับแห่งชีวิต” (Mixed Media Art About Body Jewelry Derived from the Shape of Internal Organs Under the Concept “Jewelry of Life”) |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | รงคกร อนันตศานต์ |
คำสำคัญ | เครื่องประดับแห่งชีวิต;กายอุปกรณ์;เครื่องประดับร่างกาย;อัญมณี |
หน่วยงาน | คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | โครงงานสร้างสรรค์ศิลปะสื่อผสมเกี่ยวกับเครื่องประดับร่างกายซึ่งมีที่มาจากรูปทรงของอวัยวะภายใน ภายใต้แนวคิด “เครื่องประดับแห่งชีวิต” เกิดจากประสบการณ์ที่พบว่าอวัยวะภายในมีความสำคัญมากหากเกิดความบกพร่องจะเป็นการยากในการหาอวัยวะใหม่มาทำงานทดแทนอวัยวะเดิม ประกอบกับทัศนคติในเชิงลบจากคนทั่วไปต่อการพบเห็นอวัยวะภายในร่างกายที่มักเกิดจากอุบัติเหตุหรือการผ่าตัด ซึ่งจะมาพร้อมกับการฉีกขาดของกล้ามเนื้อและเส้นเลือดที่แดงฉาน สร้างภาพความน่าสะพรึงกลัวและความรู้สึกสยดสยองต่อการรับรู้ทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้จึงก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการนำอวัยวะต่างๆ ในร่างกายมานำเสนอเป็นผลงานศิลปะ โดยมีแนวคิดและวัตถุประสงค์เพื่อต้องการนำเสนอผลงานศิลปะประดับบนร่างกายที่มีรูปลักษณ์ของรูปร่างสตรีและเครื่องประดับซึ่งเป็นรูปทรงจากอวัยวะภายใน เช่น สมอง หัวใจ ปอด เต้านม เส้นเลือดและเส้นเอ็น ฯลฯ ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ให้เป็นผลงานศิลปะที่มีความงาม มีลักษณะพิเศษที่มีคุณค่าเฉพาะตัวทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยมีคุณสมบัติในการบำบัดรักษาโรคเมื่อสวมใส่ลงบนร่างกาย ก่อให้ผู้ชมเกิดการรับรู้ได้ถึงลักษณะพิเศษที่มีคุณค่าที่ปรากฏอยู่ในผลงาน รวมถึงการมีทัศนคติเชิงบวกต่ออวัยวะภายในที่มีความสำคัญกับร่างกายมนุษย์ |
สาขาการวิจัย |
|