ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม: การทอผ้าและลวดลายผ้าของชาวผู้ไทยในประเทศไทย (Intangible Cultural Heritage: Weaving and Textile Design of the Phuthai in Thailand)
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง สิทธิชัย สมานชาติ
คำสำคัญ มรดกทางวัฒนธรรม;ลวดลายผ้าของชาวผู้ไทย;ภูไท;ภูมิปัญญาการทอผ้า
หน่วยงาน มูลนิธิภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและศิลปะเอเชีย (A-WECA)
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การรวบรวมลวดลายผ้าของชาวผู้ไทย/ภูไทในประเทศไทย ได้แก่ 1) ผ้าแพรวา 2) ผ้าแพรมน 3) เสื้อแขบ (เสื้อเย็บมือ) 4) ถงพาย (ย่าม) 5) ผ้ากาบโก้ย/ผ้าสี่เหา (ผ้ากาบกล้วย/ผ้าสี่ตะกอ) 6) ผ้าสุด (มุ้ง) 7) หมอนขิด 8) ผ้าตาหม่อง 9) ผ้าตาโล้ 10) ผ้าสีประโด 11) ผ้าลายเม็ดขี้งา 12) ซิ่นดำดาน 13)ซิ่นทิว 14) ซิ่นหมี่ไหม 15) ซิ่นหมี่ฝ้าย 16) โสร่ง 17) ผ้าจ่อง 18)ผ้าห่อคัมภีร์ 19)ผ้าตุ๊ม 20) ผ้าท้องมุ่ย 21) ผ้าโค้น 22)ธุง ภูมิปัญญาการทอผ้า คือ 1) เทคนิค “ขิด” 2) เทคนิค “จก” 3)เทคนิค “มัดหมี่” 4) เทคนิค “ควบเส้น/เข็น” 5)เทคนิค “ยกตะกอ” 6)เทคนิค “แซ่ว/ปัก” ที่มาหรือแรงบันดาลใจของลวดลาย เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับความเชื่อของบรรพบุรุษ ความศรัทธาในพระพุทธศาสนาและธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม การจัดเวทีชุมชนทั้งการรวบรวมและการคืนข้อมูล ได้ช่วยกระตุ้น “ชุมชน” ชาวผู้ไทย/ภูไทให้ตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาการทอผ้า
ข้อมูลเพิ่มเติม http://ich.culture.go.th/index.php/en/research/478-weaving-and-textile-design-of-the-phuthai-in-thailand
สาขาการวิจัย
  • มนุษยศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง