ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การแก้ไขปัญหาชั้นดานไถพรวนเพื่อการปลูกมันสำปะหลัง
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง สัมฤทธิ์ ริยาพันธ์
เจ้าของผลงานร่วม ศุภิฌา ธนะจิตต์ , สมชัย อนุสนธิ์พรเพิ่ม , อัญชลี สุทธิประการ , ปรีชา เพชรประไพ
คำสำคัญ ชั้นดานไถพรวน;มันสำปะหลัง;ยิปซัม;หินฝุ่น;มูลไก่
หน่วยงาน หาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การศึกษาผลของการไถระเบิดดานและชนิดของวัสดุปรับปรุงดิน ต่อการแก้ไขปัญหาชั้นดานไถพรวนในดิน Typic Paleustul ที่พบชั้นดานไถพรวนที่ความลึกตั้งแต่ 20-70 ซม. จากผิวดินซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากเป็นชั้นที่มีความหนาแน่นรวมค่อนข้างสูง และสภาพนำน้ำขณะอิ่มตัวช้า ทำการทดลองโดยวางแผนการทดลองแบบ split-plot in RCBD จำนวน 4 ซ้ำ แปลงหลัก (main plot) ประกอบด้วยการไถระเบิดดาน (P1) และไม่ไถระเบิดดาน (P2) ก่อนการเตรียมดินแบบปกติ (ไถเปิดด้วยผาล 3 และพรวนด้วยผาล 7) ก่อนยกร่องปลูกขวางความลาดเท แต่ละแปลงหลักมีการใส่และไม่ใส่วัสดุปรับปรุงดิน ผลการศึกษาพบว่า การไถพรวนระเบิดดานให้ผลผลิตหัวมันสำปะหลังสด สูงกว่าการไม่ไถระเบิดดานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (2.92 เปรียบเทียบกับ 2.58 ตัน/ไร่) ชนิดของวัสดุปรับปรุงดินไม่มีผลต่อการให้ผลผลิตหัวมันสด แต่ทำให้ได้น้ำหนักส่วนเหนือดินแตกต่างกันทางสถิติ โดยการใส่มูลไก่ให้น้ำหนักส่วนเหนือดินสูงที่สุดเท่ากับ 2.82 ตัน/ไร่ และมีแนวโน้มให้ผลผลิตหัวสดสูงที่สุดเท่ากับ 3.1 ตัน/ไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใส่วัสดุปรับปรุงดิน รวมทั้งการใส่ยิปซัม และหินฝุ่น ทั้งในกรณีที่มีการไถหรือไม่ไถระเบิดดาน อย่างไรก็ตามการใส่มูลไก่ร่วมกับการไถระเบิดดาน ทำให้มีการสะสมปริมาณแป้งในหัวมันต่ำสุดเท่ากับร้อยละ 21.7
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=02-Suphicha.pdf&id=385&keeptrack=92
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การแก้ไขปัญหาชั้นดานไถพรวนเพื่อการปลูกมันสำปะหลัง is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง