- รศ.ดร.ภญ. อรุณพร อิฐรัตน์
- 707 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การพัฒนาการผลิตเซลลูโลสจากแบคทีเรียในกากน้ำตาลโดยใช้น้ำมะพร้าว เป็นสารอาหารเสริมและการเติมสารที่ทําให้เกิดเจล (Development of bacterial cellulose production in molasses by using coconut juice as the nutrient supplement and adding of gelling agent) |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | กาญจนา ชินสําราญ |
เจ้าของผลงานร่วม | ฤทัยรัตน์ สุทธิสุวรรณ |
คำสำคัญ | เซลลูโลสจากแบคทีเรีย;กากน้ำตาล;น้ำมะพร้าว;สารที่ทําให้เกิดเจล |
หน่วยงาน | สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | การผลิตเซลลูโลสจากแบคทีเรีย Acetobacter aceti subsp. xylinum TISTR 975 ในอาหารเลี้ยงเชื้อ (กากน้ำตาลโดยใช้น้ำมะพร้าวเป็นสารอาหารเสริมและเติมสารที่ทําให้เกิดเจล ได้แก่ อะการ์ เพคติน และอัลจิเนต ที่ความเข้มข้นต่างๆ) การหมักแบบนิ่ง ใช้กล้าเชื้อเริ่มต้นร้อยละ 10 หมักที่อุณหภูมิห้อง พบว่า แบคทีเรียสร้างเซลลูโลสได้ดีที่สุดในกากน้ำตาลที่ละลายด้วยน้ำมะพร้าวที่มีปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายได้เท่ากับ 10 ดีกรีบริกซ์ และเติมสารเพคตินร้อยละ 0.5 ระยะเวลาในการหมัก 15 วัน สามารถขยายระดับการผลิตในอาหารเลี้ยงเชื้อปริมาตร 1 ลิตร ได้เซล ลูโลสจากแบคทีเรีย 710.38 กรัม/ลิตร (น้ำหนักเปียก/ปริมาตร) หรือ 28.05 กรัม/ลิตร (น้ำหนักแห้ง) ร้อยละ 2.80 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า น้ำมะพร้าวและเพคตินสามารถนำมาใช้ในการส่งเสริมการผลิตเซลลูโลสจากแบคทีเรียในอาหารเลี้ยงเชื้อที่ใช้กากน้ำตาลเป็นซับสเตรทได้ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://www.journal.rmutsb.ac.th/th/data_news/file/rmutsb-journal-20151217-pdf-296.pdf |
สาขาการวิจัย |
|