ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากเส้นใยเห็ดในพื้นที่ป่าดงใหญ่ จังหวัดอำนาจเจริญ |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
ดร.พิลาณี ไวถนอมสัตย์ |
เจ้าของผลงานร่วม |
ดร. อุดมลักษณ์ สุขอัตตะ ,
ดร. รัตเขตร์ เชยกลิ่น ,
นางสาวธิติยา บุญประเทือง ,
นางสาวปณิดา อู่ไทย ,
นางสาวประภัสสร รักถาวร |
คำสำคัญ |
การพัฒนา, ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ, เส้นใยเห็ด, พื้นที่ป่าดงใหญ่, จังหวัดอำนาจเจริญ |
หน่วยงาน |
สถาบันผลิตผลเกษตรฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ |
2562 |
คำอธิบาย |
งานวิจัยนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง 3 หน่วยงาน ได้แก่ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) โดยศูนย์พันธุฯ และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) เป็นผู้เก็บ คัดแยก และศึกษาลักษณะประจำพันธุ์เห็ดในพื้นที่ “ป่าดงใหญ่” จังหวัดอำนาจเจริญ จากนั้นนำส่งตัวอย่างให้สถาบันผลิตผลเกษตรฯ เพื่อวิเคราะห์ชนิดและปริมาณของสารพฤกษเคมีที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและบีต้ากลูแคน รวมถึงการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและเครื่องสำอาง จากตัวอย่างเห็ดทั้งสิ้น 93 ตัวอย่าง นำมาเพาะเลี้ยงบนอาหารแข็งและอาหารเหลว พบว่า เส้นใยเห็ด Auricularia polytricha (RSPG00622) หรือเห็ดหูหนูรวงผึ้ง ที่เจริญบนอาหารแข็งสามารถสกัดได้ปริมาณบีต้ากลูแคนสูงที่สุด และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยกลไกการดักจับอนุมูลอิสระได้ดีระดับปานกลาง จึงนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพแคปซูลที่มีส่วนผสมของบีต้ากลูแคนจากเห็ด 37.5% และผงผลไม้แห้งวิตามินซีสูง 62.5% มีปริมาณคาร์โบไฮเดรต เยื่อใย และโปรตีน 43.48, 19.52 และ 15.11% ตามลำดับ ในส่วนของสารสกัดจากเส้นใยเห็ด พบว่า Coriolopsis byrsina (RSPG00722) ที่เจริญในอาหารเหลวและนำมาสกัดด้วยเมทานอล 80% มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดสูงและมีสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay และ FRAP assay และต้านเอนไซม์ไทโรซิเนสได้ดี จึงนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ครีมทามือและเท้าที่มีสารสกัดจากเห็ดในปริมาณ 0.2% มีลักษณะเป็นเนื้อครีมสีขาว เนื้อเนียนละเอียด ผู้บริโภคให้การยอมรับผลิตภัณฑ์ 90% และมีคะแนนความชอบรวมของผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับชอบปานกลาง |
สาขาการวิจัย |
|