ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบจำลองเพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญา : กรณีศึกษาการยกยอดปราสาทของชาวไทย – มอญ วัดสนามเหนือ จังหวัดนนทบุรี
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง จิรดา แพรใบศรี
คำสำคัญ หุ่นจำลอง;ภูมิปัญญา;การอนุรักษ์;การยกยอดปราสาท;ไทย-มอญ
หน่วยงาน สาขาวิชาศิลปประยุกต์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย ศึกษาภูมิปัญญา และพัฒนาหุ่นจำลองวิธีการยกยอดปราสาทของชาวไทย-มอญ เพื่อการอนุรักษ์ พบว่า ภูมิปัญญาการยกยอดปราสาทของชาวไทย-มอญ กลุ่มช่างวัดสนามเหนือ จังหวัดนนทบุรี เป็นกลุ่มเดียวกันที่มีแนวคิดในการสร้างปราสาทที่สามารถถอดประกอบนำมาเวียนใช้ซ้ำได้ ซึ่งต่างจากแนวคิดของชาวมอญกลุ่มอื่น โดยตัวอาคารมีรูปแบบคล้ายทรงโกศที่ใช้ในงานพระราชพิธีของชนชั้นสูงหรือพระสงฆ์ของไทย การสร้างจะมีพิธียกยอดปราสาทไว้บนหัวเสา ด้วยเครื่องมือยกที่ได้สืบทอดภูมิปัญญาตามวิธีจารีตโบราณ ปัจจุบันภูมิปัญญาดังกล่าวขาดผู้สืบทอด ขณะที่กลุ่มช่างอื่นได้เลิกใช้หรือปรับเปลี่ยนวิธีการไปแล้ว ดังนั้นการขาดหายไปหรือเปลี่ยนแปลงวิถีแห่งภูมิปัญญาดั่งเดิม สามารถสะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยีในแต่ละยุคสมัย
ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.ubu.ac.th/web/files_up/08f2017122817305851.pdf
สาขาการวิจัย
  • มนุษยศาสตร์
Creative Commons License


การพัฒนาแบบจำลองเพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญา : กรณีศึกษาการยกยอดปราสาทของชาวไทย – มอญ วัดสนามเหนือ จังหวัดนนทบุรี is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง