ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การทดสอบวัสดุในการเพาะเลี้ยงและกิจกรรมของเอนไซม์ย่อยสลายของเห็ดเรืองแสง Neonothopanus nambi Speg. |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | วีรวัตร นามานุศาสตร์ |
คำสำคัญ | กิจกรรมของเอนไซม์;การเพาะเลี้ยง;สูตรอาหาร;เห็ดเรืองแสง |
หน่วยงาน | หาวิทยาลัยขอนแก่น |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | เห็ดเรืองแสง Neonothopanus nambi Speg. เป็นเห็ดที่มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ที่สามารถนำมาใช้ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมสาเหตุโรคพืช การศึกษาครั้งนี้เป็นการทดสอบการเจริญของเส้นใยเชื้อเห็ดบนวัสดุเพาะจำนวน 4 สูตร พบว่า เห็ดเรืองแสงไอโซเลต PW2 เส้นใยเจริญได้ดีที่สุดในขี้เลื่อยยางพาราผสมแป้งข้าวโพด 10% ขณะที่ไอโซเลต KKU2 เส้นใยเจริญได้ดีที่สุดในขี้เลื่อยยางพาราผสมแป้งข้าวสาลี 10% การตรวจสอบกิจกรรมของเอนไซม์ย่อยสลาย ที่เห็ดปลดปล่อยออกมาเพื่อย่อยสารอาหาร เพื่อนำไปสู่การหาสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงเส้นใยและดอกของเห็ด เรืองแสง พบว่าเห็ดเรืองแสงไอโซเลต PW2 มีกิจกรรมของเอนไซม์ cellulase สูงที่สุดคือเท่ากับ 6.02 μmol-glucose equivalent/mg protein/hr การวิเคราะห์กิจกรรมของเอนไซม์ pectinase พบว่าไอโซเลต PW4 มีกิจกรรมของเอนไซม์สูงที่สุดเท่ากับ 151.10 μmol-galacturonic acid equivalent/mg protein/hr การวิเคราะห์กิจกรรมของเอนไซม์ amylase พบว่าเห็ดเรืองแสงทุกไอโซเลตมีกิจกรรมของเอนไซม์ amylase ค่อนข้างต่ำ ไอโซเลตที่มีกิจกรรมของเอนไซม์สูงที่สุดคือ PW4 โดยมีค่าเท่ากับ 0.63 μmol-glucose equivalent/mg protein/hr ในขณะที่กิจกรรมของเอนไซม์ protease ไอโซเลต PW1 มีกิจกรรมของเอนไซม์สูงที่สุดเท่ากับ 13.8 μmol-tyrosine equivalent/mg protein/hr การศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงกิจกรรมเอนไซม์ย่อยสลายของเห็ดเรืองแสง N. nambi |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=35.pdf&id=503&keeptrack=16 |
สาขาการวิจัย |
|
การทดสอบวัสดุในการเพาะเลี้ยงและกิจกรรมของเอนไซม์ย่อยสลายของเห็ดเรืองแสง Neonothopanus nambi Speg. is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.