- สุวรรณี แสนทวีสุข
- 463 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ผลของสมุนไพรเบญจกูล และขิง ต่อค่าโลหิตวิทยาและจำนวนจุลินทรีย์ในไก่เนื้อ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | รังสรรค์ แตงโสภา |
เจ้าของผลงานร่วม | วีระวุฒิ พรมดี , สาธิต บุญอาจ , มานะ สุภาดี , วิศิษย์ เกตุปัญญาพงศ์ , กุลิสรา มรุปัณฑ์ธร |
คำสำคัญ | สมุนไพรเบญจกูล;ขิง;อะม็อกซีซิลลิน;ค่าทางโลหิตวิทยา;ไก่เนื้อ |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | การศึกษาผลของการเสริมสมุนไพรเบญกูล ขิง และยาปฏิชีวนะอะม็อกซีซิลลินในอาหาร ต่อค่าทางโลหิตวิทยา และการติดเชื้อแบคทีเรียที่สำคัญในไก่เนื้ออายุ 1 วัน จำนวน 160 ตัว แบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำได้แก่ กลุ่มควบคุม กลุ่มเสริมยาปฏิชีวนะอะม็อกซีซิลลิน 0.05 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม กลุ่มเสริมสมุนไพรเบญจกูลในอาหาร 0.5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม และกลุ่มเสริมขิงในอาหาร 0.5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม สุ่มเก็บตัวอย่างเลือด ลำไส้ และตับของไก่เนื้อ อายุ 35 วัน จำนวน 2 ตัว/ซ้ำ เพื่อตรวจค่าทางโลหิตวิทยา และเพาะเชื้อแบคทีเรีย ผลการศึกษาพบว่า ไก่เนื้อที่กินอาหารเสริมขิงมีปริมาณฮีโมโกลบิน และเม็ดเลือดขาวชนิดเฮตเตอร์โรฟินเพิ่มขึ้น (P<0.01) และพบจำนวนเชื้อ อี. โค ไลที่ลำไส้ และซัลโมเนลลาที่ตับน้อยลงเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (P<0.05) ไก่เนื้อที่กินอาหารเสริมสมุนไพรเบญจกูลมีจำนวนเม็ดเลือดแดง ค่าเม็ดเลือดแดงอัดแน่น จำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดเบโซฟิล และลิมโฟไซต์เพิ่มขึ้น (P<0.01) แต่ไม่มีผลต่อจำนวนเชื้อ อี. โค ไลที่ลำไส้ และซัลโมเนลลาที่ตับ และไก่เนื้อที่กินอาหารเสริมยาปฏิชีวนะอะม็อกซีซิลลิน มีจำนวนเม็ดเลือดแดง ปริมาณฮีโมโกลบิน ค่าเม็ดเลือดแดงอัดแน่น และจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดโมโนไซต์ลดลง (P<0.01) |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=44.pdf&id=512&keeptrack=13 |
สาขาการวิจัย | - |
ผลของสมุนไพรเบญจกูล และขิง ต่อค่าโลหิตวิทยาและจำนวนจุลินทรีย์ในไก่เนื้อ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.